loading
ทำความรู้จักก่อนฉีด วัคซีนโควิดในไทยมีกี่ชนิด

ทำความรู้จักก่อนฉีด วัคซีนโควิดในไทยมีกี่ชนิด

เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021

วัคซีนโควิดในไทย ที่ อย. ขึ้นทะเบียน มีอะไรบ้าง

หลังมีการคิดค้นและทดลองวัคซีนโควิด-19 จนประสบความสำเร็จ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 เห็นได้ว่านานาประเทศเริ่มทยอยวัคซีน COVID-19 เพื่อปกป้องประชากรให้ห่างไกลจากโควิด-19 แน่นอนว่า ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นที่มีการนำเข้าวัคซีนโควิดด้วยเช่นกัน โดยที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ไปบางส่วนแล้วก่อนเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชน เมื่อต้นเดือนเมษายน 2564 ได้เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด รอบ 3 และพบว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กระจายตัวไปใน 77 จังหวัด เป็นโควิดสายพันธุ์อังกฤษ ที่มีการแพร่เชื้อเร็วขึ้น 1.7 เท่า ด้วยเหตุนี้เองเมื่อวันที่ 20 เมษายน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติเจรจาซื้อวัคซีนโควิด-19 กับบริษัท ไฟเซอร์ (Pfizer) คาดว่าวัคซีนไฟเซอร์จะเดินทางมาถึงไทยช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ และวันนี้เราขอพาไปอัปเดตข้อมูลวัคซีนโควิด-19 ขึ้นทะเบียนในไทยมีอะไรบ้าง

การฉีดวัคซีนมีความสำคัญมาก เพราะโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่มียารักษาที่แน่ชัด มีเพียงวัคซีนที่เพิ่งคิดค้นขึ้นและได้รับการรับรองว่ามีคุณสมบัติในการสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโควิด-19 ในร่างกาย ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดจึงมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้น้อยกว่าผู้ที่เลือกไม่ฉีด ซึ่งวัคซีนโควิดในตอนนี้ก็มีผู้ผลิตออกมาหลากหลายแบรนด์ โดยมีรัฐบาลไทยเป็นตัวกลางในการจัดซื้อจัดหาวัคซีนมาบริหารจัดการให้เหมาะสมกับคนในประเทศ

ทำไมต้องวัคซีนโควิด-19

การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรงของอาการป่วยและลดการเสียชีวิตอันเกิดจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ทั้งนี้แม้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายไปแล้ว ผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เพราะหลังฉีดวัคซีนร่างกายจำต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา

วัคซีนโควิด ขึ้นทะเบียนในไทย ชื่ออะไรบ้าง ?

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ใช้ในประเทศไทย แต่ยังต้องใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งสิ้น 3 ยี่ห้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. วัคซีน AstraZeneca
    เป็นวัคซีนแบบ Viral Vector ที่ตัดต่อทางพันธุกรรมโดยการใช้สารทางพันธุกรรมของไวรัส SAR-CoV-2 ใส่เข้าไปในตัวไวรัสชนิดอื่นที่ไม่ก่อโรค เมื่อฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนกาเข้าไปในร่างกาย ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนขึ้นมา พอร่างกายรับรู้ถึงโปรตีนที่สร้างขึ้นมาว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมก็จะสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี (antibody) ขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมดังกล่าว
    วัคซีน AstraZeneca ขึ้นทะเบียนในไทย : เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 ปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ได้นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยแล้ว
  2. วัคซีน Sinovac
    วัคซีน Sinovac หรือวัคซีนโคโรนาแวค เป็นวัคซีนเชื้อตาย ผลิตโดยการเลี้ยงไวรัสชนิดนี้ให้ได้ปริมาณมากแล้วมาทำให้ตายด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมาทำลายสิ่งแปลกปลอม
    วัคซีน Sinovac ขึ้นทะเบียนในไทย : เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ได้นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยแล้ว
  3. วัคซีน Johnson & Johnson
    ถือเป็นวัคซีนโควิด-19 ลำดับที่ 3 ที่ได้รับการอนุมัติกรณีฉุกเฉินต่อจากวัคซีน AstraZeneca และวัคซีน Sinovac โดยวัคซีนจอห์นสัน & จอห์นสัน ใช้เทคโนโลยี Viral-Vector หรือการใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลงและไม่ทำให้เกิดโรคมาตัดต่อสารพันธุกรรม เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
    วัคซีน Johnson & Johnson ขึ้นทะเบียนในไทย : เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ยังไม่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย

แนวทางปฏิบัติก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด -19

ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไร

  • กรณีมีไข้ หรือเจ็บป่วย ควรรอให้อาการบรรเทาลงก่อนอย่างน้อย 2 วันแล้วค่อยมาฉีดวัคซีน นอกจากนี้ไม่ควรกินยาแก้ไข้หรือยาแก้ปวดก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากยาอาจไปกดภาวะการอักเสบ ทำให้การตอบสนองของวัคซีนลดลง
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานยา ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ ไม่ควรหยุดยาเพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นแพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
  • ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีน เพราะอาจต้องใช้เวลากดแผลบริเวณที่ฉีดวัคซีนนานขึ้น ทั้งนี้ถ้าหลังฉีดวัคซีน เกิดอาการห้อเลือดหรือจ้ำเลือดขึ้นควรรีบพบแพทย์ทันที

หลังฉีดวัคซีนโควิด -19 ควรปฏิบัติตัวแบบไหน

  • ควรสังเกตอาการข้างเคียงที่โรงพยาบาลก่อนกลับบ้าน หลังรับวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 30 นาที
  • เมื่อกลับบ้านแล้วเกิดอาการข้างเคียง อาทิ มีผื่นขึ้น ปวดแขน บวมบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยตัว หรือมีไข้ต่ำ ๆ อาจเป็นเพราะร่างกายกำลังตอบสนองต่อวัคซีนโควิด-19 แต่ถ้ามีไข้สูงมาก แนะนำให้รีบกลับมาพบแพทย์ทันทีเพื่อประเมินอาการ
  • เมื่อรับวัคซีนโควิด-19 ครบ 3 วัน โอกาสเกิดอาการแพ้วัคซีนโควิด-19 จะน้อยมาก แต่เพื่อความปลอดภัยควรสังเกตอาการต่อไปจนครบ 30 วัน

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ใครที่กำลังมองหาประกันแพ้วัคซีนโควิด เราขอแนะนำ "ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิดจากกรุงเทพประกันภัย" ซึ่งให้การคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาลและเงินปลอบขวัญ

ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด

คุ้มครองกรณีได้รับผลกระทบจาก การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

  • วงเงินความคุ้มครองกับค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในสูงสุด 100,000 บาท
  • ให้ความคุ้มครองภาวะโคม่า สูงสุดถึง 1,000,000 บาท
  • เงินปลอบขวัญสำหรับผู้ป่วยในกรณีเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 วันสูงสุด 50,000 บาท

เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณสนใจประกันสุขภาพ หรืออยากได้ที่ปรึกษาเรื่องประกันภัย เพื่อให้ได้ประกันภัยที่เหมาะสมและครอบคลุมค่าใช้จ่ายจากเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอื่นๆ มากที่สุด สามารถปรึกษากับฮักส์ได้ที่เบอร์ 0 2975 5855 หรือพูดคุยผ่านช่องทาง Line

อ้างอิงข้อมูล: ไทยคู่ฟ้าสถาบันวัคซีนแห่งชาติโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

สมัครประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด เพื่อความอุ่นใจของทุกย่างก้าว...ที่นี่


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ฮักส์ประกันโควิด

#โควิด-19

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+