loading
4 สัญญาณเตือนโรคออฟฟิศซินโดรม รีบรักษาก่อนเป็นหนัก!

4 สัญญาณเตือนโรคออฟฟิศซินโดรม รีบรักษาก่อนเป็นหนัก!

เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021

ออฟฟิศซินโดรม โรคใกล้ตัวที่มนุษย์ออฟฟิศไม่ควรมองข้าม

มนุษย์เงินเดือน หรือ มนุษย์ออฟฟิศ ถือเป็นงานที่คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ซึ่งมีหลากหลายสาขางานและอาชีพ โดยเราจะเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบันมีผู้ที่ทำงานออฟฟิศมากยิ่งขึ้น แต่การทำงานออฟฟิศสิ่งที่ต้องพบเจออยู่บ่อยครั้งคือ อาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว เนื่องจากพฤติกรรมของคนทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่ ต้องนั่งทำงานอยู่ที่หน้าจอโน๊ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือท่าทางในการทำงานมากนั้น เมื่อระยะเวลานานเข้าก็เกิดสะสมความเมื่อยล้าของร่างกาย รวมถึงความเครียดต่าง ๆ จนเกิดเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยสำหรับคนที่ทำงานออฟฟิศอย่าง “โรคออฟฟิศซินโดรม”

การนั่งทำงานประจำที่นาน ๆ และจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลาหลายชั่วโมง ทำให้ร่างกายเกิดอาการเมื่อยล้าสะสม หากไม่มีการกายบริหารระหว่างวัน หรือพักสายตาอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรมของพนักงานประจำก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน และยังถือเป็นปัญหาสุขภาพระยะยาวที่ควรป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากเป็นหนักจนถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลรักษาตัวจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง รวมถึงอาจเสียวันลาไปโดยใช่เหตุด้วย มนุษย์เงินเดือนจึงควรตระหนักปัญหาสุขภาพไว้ก่อนจะสายเกินไป

ทำความรู้จักโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม คือ โรคที่เกิดจากอาการปวดกล้ามเนื้อที่เป็นรูปแบบของการทำงานหรือการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำ ๆ แบบต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานานจนเกิดการสะสม เช่น การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ท่าเดิมนาน ๆ ไม่มีการผ่อนคลายหรือขยับให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว คลายความเมื่อยล้า ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจก่อให้เกิดเป็นอาการเรื้อรัง และอาจมีอาการที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นได้ในอนาคต โรคออฟฟิศซินโดรม มีอาการอย่างไร โรคนี้จะเริ่มจากการมีอาการที่ค่อนข้างชัดเจน คือ

มีอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น หลัง บ่า ไหล่ คอ หรือ อาการปวดเป็นบริเวณกว้าง รู้สึกปวดร้าวไปทั่วทั้งบริเวณ มีอาการปวดตั้งแต่เล็กน้อยไปปจนถึงรุนแรง

มีอาการเกี่ยวข้องกับระบบประสาทเข้าร่วม เช่น อาการชา เหน็บ รู้สึกวูบวาบ เย็น ขนลุก มีเหงื่อออก ตามบริเวณที่เกิดอาการปวด สำหรับผู้ที่มีอาการปวดบริเวณคอ อาจมีอาการมึนงง ตาพร่า และหูอื้อควบคู่ รวมถึงอาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณที่เกิดอาการปวด หรืออาการชาหากมีการกดทับยังบริเวณเส้นประสาทของร่างกายที่มากเกินไป

มีการอักเสบของเส้นเอ็น บริเวณข้อศอก ข้อมือ หรือ นิ้วมือ เช่น อาการนิ้วล็อค 

ผู้หญิงนั่งหน้าคอมพิวเตอร์กำลังใช้มือบีบนวดบริเวณบ่า จากอาการออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมที่เกิดขึ้นจากการทำงาน

 

สัญญาณเตือนอาการออฟฟิศซินโดรม

ก่อนเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมยังมีในเรื่องของสัญญาณเตือนต่าง ๆ ของร่างกายที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ดังนี้

1.มีอาการปวดร้าวบริเวณหลัง

ร่างกายของเราเกิดการเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน หากคุณเป็นคนที่นั่งหลังค่อมในการทำงาน หรือ ชอบห่อตัวในการนั่งทำงานบ่อยๆ จะทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งอยู่ตลอดเวลา และเกิดอาการปวดร้าวบริเวณหลัง แสดงว่าคุณเริ่มมีสัญญาณเตือนสำหรับโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว

2.เริ่มมีอาการสายตาพร่ามัว

อาการสายตาพร่ามัวนี้จะเป็นการแสดงอาการออกมาอย่างฉับพลัน เช่น อยู่ ๆ ก็เกิดสายตาพร่ามัวขึ้นมา ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าแสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค หรือ สมาร์ทโฟน เป็นอันตรายต่อดวงตาหากจ้องมองนานเกินไป ซึ่งการทำงานอาจจะต้องใช้สายตาในการจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงที่อาจเกิดอาการเช่นนี้ที่เป็นสิ่งบ่งบอกถึงโรคออฟฟิศซินโดรมกำลังใกล้เข้ามาแล้ว อีกทั้งหากปล่อยทิ้งไว้อาจเสี่ยงเกิดเป็นต้อหินได้ในอนาคต

3.อาการปวดหัว

ความเครียดจากการทำงานถือเป็นสิ่งที่หลายคนต้องพบเจอ ด้วยสาเหตุนี้เองจึงเป็นต้นเหตุของอาการปวดหัว นอกจากความเครียดยังรวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ออกมาทดแทนได้ทัน จึงเป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวมีตั้งแต่ปวดหัวเล็กน้อยไปจนถึงอาการปวดหัวอย่างหนัก

4.อาการมือชา

การนั่งทำงาน หรือ นั่งพิมพ์งาน เลื่อนเมาส์นาน อาจทำให้เกิดอาการมือชา นิ้วแข็งตึง หรือ อาการนิ้วล็อคได้ เพราะกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือ หรือเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ มีการทำงานหนักจนเกิดการอักเสบ หากมีอาการที่หนักขึ้นอาจทำให้เกิดพังผืดที่มือตามมา

ผู้หญิงทำงานหน้าคอมพิวเตอร์พร้อมใช้มือกุมบริเวณขมับ

ปัญหาความเครียดจากการทำงานที่ส่งผลต่อร่างกาย

ซึ่งกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถเช็คลิสต์ความเสี่ยงได้ ดังนี้

  • ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ 6 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป
  • มีอาการปวดเมื่อยบริเวณ หลัง ต้นคอ ไหล่ บ่า เอว อยู่เป็นประจำ
  • มีอาการปวดเมื่อยที่เริ่มรุนแรงขึ้นจนต้องทายาแก้ปวด หรือกินยาเพื่อช่วยบรรเทา
  • มีอาการสายตาพร่ามัว มองหน้าจอไม่ชัด เป็นบางครั้งระหว่างการทำงาน

นอกจากเช็คลิสต์ความเสี่ยงจากโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว อีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการป้องกันและหันมาดูแลตัวเองก่อนเกิดอาการที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง

แนวทางการป้องกันออฟฟิศซินโดรม

  • แบ่งเวลาในระหว่างการทำงาน ออกมายืดเส้นยืดสายผ่อนคลายบ้าง เช่น การทำกายบริหารเบา ๆ ให้กล้ามเนื้อได้มีการคลายตัว
  • ปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงาน หลีกเลี่ยงการนั่งห่อตัวหรือนั่งหลังค่อม เพราะเป็นท่าทางที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งจนเกิดเป็นอาการปวดเรื้อรัง หรือเลือกท่านั่งทำงานให้สบายตัวมากที่สุด เช่น หาเก้าอี้เล็ก ๆ มาวางเท้าในขณะนั่งทำงาน
  • สวมใส่แว่นตากรองแสงในการทำงาน หรือ หาเวลาพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เช่น หาต้นไม้ต้นเล็ก ๆ มาวางเพื่อให้รู้สึกสบายตามากยิ่งขึ้น
  • อย่าเครียดกับงานมากเกินไป ควรหาเวลาผ่อนคลายสักนิดหากเริ่มรู้สึกเครียด เพราะความเครียดเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คุณมีความเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรมได้เช่นเดียวกัน
  • ทำให้ร่างกายแข็งแรง หมั่นออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีประโยชน์

นอกจากเรื่องของโรคออฟฟิศซินโดรมแล้วนั้น เราทุกคนต่างมีความเสี่ยงในการพบเจอกับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ จากไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้ ซึ่งคุณสามารถเลือกวางแผนรับความเสี่ยงด้วยการเลือกความคุ้มครองให้แก่สุขภาพด้วยการทำประกันภัยสุขภาพทิพยจัดเต็ม ที่มีให้เลือกความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง จากกรณีการเจ็บป่วย ฮักส์มีความคุ้มครองประกันภัยที่หลากหลาย พร้อมยินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการเลือกทำประกันภัยสุขภาพให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Line หรือโทรติดต่อฮักส์ได้ที่ 0 2975 5855

เจ็บป่วยเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม การทำประกันภัยสุขภาพ...คลิก

 


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ฮักส์ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+