loading
อาการไอเรื้อรังบอกโรค ส่งสัญญาณอันตราย

อาการไอเรื้อรังบอกโรค ส่งสัญญาณอันตราย

เขียนเมื่อวันที่ 12/07/2021

อาการไอเรื้อรัง บอกโรคร้ายได้จริงหรือ 

อาการไอเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ เป็นไข้หวัด หรือสูดดมฝุ่นควันเข้าไป แต่รู้หรือไม่ว่า...หากไอเรื้อรังติดต่อกันอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ถือเป็นการส่งสัญญาณอันตรายที่ไม่ควรนิ่งเฉยต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน สาเหตุของอาการไอเรื้อรังเกิดขึ้นได้ทั้งจากมีภาวะติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อาทิ หอบหืด ภูมิแพ้ รวมถึงหลอดลมอักเสบ นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับระทบบทางเดินหายใจ อาทิ ภาวะหัวใจวาย และกรดไหลย้อน สำหรับอาการไอเรื้อรังที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง มีดังต่อไปนี้ 

  1. ระหว่างที่ไอรู้สึกคัดจมูกหรือมีน้ำหมูกไหล 
  2. เวลาไอรู้สึกมีเสมหะไหลลงคอส่วนหลัง 
  3. รู้สึกกระแอมบ่อยและเจ็บคอ 
  4. เสียงแหบและหายใจลำบาก 
  5. รู้สึกเปรี้ยวในปากและแสบร้อนภายในหน้าอก
  6. ไอแล้วมีเลือดปนออกมา 

ผู้หญิงกำลังไอ

อาการไอเรื้อรังที่ต้องระวัง

อาการไอเรื้อรังที่ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

อาการไอเรื้อรังปล่อยไว้นานอาจมีความเสี่ยงเกิดโรคร้ายที่ไม่คาดฝัน และถ้าตรวจพบช้าจะทำให้ยากกต่อการรักษา เพราะฉะนั้นหากพบความผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เป็นการด่วน 

  1. มีอาการไอติดต่อกันมากกว่า 8 สัปดาห์ 
  2. มีอาการไอรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ 
  3. มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย อาทิ ระหว่างไอมีเลือดปนออกมา รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และเจ็บหน้าอก 
  4. เคยสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคแล้วหลังจากนั้นมีอาการไอ 
  5. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต โรคหัวใจ และเบาหวาน หากมีอาการไอเรื้อรังควรรีบพบแพทย์ 
 

8 โรคที่ระวัง! เมื่ออาการไอเรื้อรังมาเยือน

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าอาการไอเรื้อรังถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณอันตรายที่ควรเฝ้าระวัง และมีความเสี่ยงเกิดโรคร้าย ดังต่อไปนี้ 

  1. มะเร็งปอด 

อาการของโรคคือไอเรื้อรังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และอาจมีเลือดสดปนออกมา รวมถึงมีอาการอื่นร่วมด้วยคือ เจ็บหน้าอกเวลาไอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงและมีไข้

  1. วัณโรค

ในระยะเริ่มแรกไม่แสดงอาการแต่จะไอเรื้อรังเมื่อโรคเริ่มลุมลาม อีกทั้งมีอาการอื่น ๆ ตามมา อาทิ อ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง และเจ็บหน้าอก ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือไอเป็นเลือด

  1. ไซนัสอักเสบ 

เริ่มแรกจะมีอาการของไข้หวัดและโรคภูมิแพ้อากาศ ส่วนมากไอช่วงเวลากลางคืนเพราะมีน้ำมูก หรือเสมหะไหลลงคอ หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ แย่ลงตามลำดับ 

  1. โรคหืด 

อาการของโรคที่พบปล่อยคือไอช่วงเวลากลางคืนเนื่องจากอากาศเย็น รวมถึงหายใจไม่สะดวก หายใจดัง ไอมากขึ้น และเหนื่อยหอบ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของหลอดลมฝอยว่าตีบมากหรือน้อย และอาการมักจะกำเริบเมื่อติดเชื้อทางเดินหายใจ 

  1. ภาวะทางเดินหายใจต่อสิ่งกระตุ้น

เกิดขึ้นหลังจากหายเป็นหวัดแล้วแต่ยังมีอาการไอมากช่วงเวลากลางคืนเนื่องจากอากาศเย็น หรือโดนลม 

  1. กรดไหลย้อน 

หลังจากทานอาหารเสร็จหรือล้มตัวลงนอนจะเกิดอาการไอแห้ง รวมถึงมีอาการแสบร้อนในอก และเรอเปรี้ยว 

  1. ถุงลมโป่งพอง

สาเหตุของโรคเกิดจากสูบบุหรี่จัด ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังแบบมีเสมหะ รวมถึงหอบเหนื่อยง่าย และหายใจเสียงดัง 

  1. ภูมิแพ้อากาศ 

สาเหตุของโรคเกิดจากสัมผัสสารที่ก่อภูมิแพ้ อาทิ ขนสัตว์ ไรฝุ่น หรือละอองเกสรดอกไม้ ทำให้มีอาการคัดจมูก คันคอ ไอและจาม รวมถึงมีน้ำมูกใส ๆ ตามมา 

นอกจากนี้อาการไอเรื้อรังอาจมีผลมาจากการทานยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors (ACE Inhibitors) เป็นระยะเวลานาน การใช้เสียงมาก หรือมีเนื้องอกที่บริเวณคอ กล่องเสียง และหลอดลม เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและลดความรุนแรงที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เมื่อมีอาการไอเรื้อรังหรือไอมากผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เป็นการด่วนเพื่อเข้ารับการ เรื่องค่ารักษาให้ประกันสุขภาพดูแล ประกันสุขภาพเปี่ยมใจรักษ์ เหมาจ่ายต่อปีสูงสุด 770,000 บาท/ปี เบี้ยเริ่มต้น 7,200 บาท/ปี รักษาได้อย่างทันท่วงที และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการทำประกันภัยสุขภาพ หากเกิดอาการเจ็บป่วยในอนาคตจะได้หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ฮักส์มีประกันภัยสุขภาพมาพร้อมความคุ้มครองที่ครอบคลุม เบี้ยเริ่มต้น 2,160 บาท / ปี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2975 5855 ยินดีให้คำปรึกษา และเลือกแผนประกันภัยที่เหมาะกับคุณ 

อ้างอิงข้อมูล : phyathai


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+