loading
กฎหมาย พ.ร.บ. รถยนต์ที่ควรรู้ คุ้มครองอะไรบ้าง

กฎหมาย พ.ร.บ. รถยนต์ที่ควรรู้ คุ้มครองอะไรบ้าง

เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

รถยนต์ เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่หลายคนอยากเป็นเจ้าของเพื่อการเดินทางที่สะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งราคารถยนต์ป้ายแดงในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อตั้งแต่ 300,000 กว่าไปจนถึงหลักล้านบาท แต่รู้ไหมว่าการซื้อรถยนต์สักคันไม่ได้มีแค่ค่างวดที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือน ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาอีก อาทิ

  • ค่าน้ำมัน
  • ค่าบำรุงรักษา เมื่อใช้งานรถมาระยะหนึ่ง เจ้าของต้องนำรถเข้ารับการเช็กสภาพ โดยเข้าศูนย์ฯ เช็กทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 6-12 เดือน
  • ค่าภาษีรถยนต์ เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยภาษีรถแต่ละรุ่นมีราคาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด กำลังของเครื่องยนต์ และอายุการใช้งานของตัวรถ
  • พ.ร.บ. รถยนต์ คือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ โดยกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องมี
  • ประกันภัยรถยนต์ เป็นตัวช่วยเพิ่มความอุ่นใจและลดภาระทางการเงินจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจทำให้รถของคุณต้องเสียหาย

ถือเป็นค่าใช้จ่ายในจำนวนไม่น้อยที่เจ้าของรถต้องพบเจออยู่บ่อย ๆ และหากไม่หมั่นตรวจเช็คสภาพรถ หรือขับรถโดยประมาท ก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมตามมาอีกนับไม่ถ้วน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจซื้อรถควรไตร่ตรองอย่างละเอียดว่าพร้อมแบกรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้หรือไม่ รวมถึงคำนวนเงินเดือนและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันปัญหาการเงินตามมาทีหลัง อีกทั้งการขับรถเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด รวมถึงการไม่ประมาท ก็มีส่วนช่วยลดค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อยเช่นกัน

ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่คือค่าใช้จ่ายบางส่วนที่เจ้าของรถต้องเตรียมไว้ โดยค่าใช้จ่ายบางอย่างจ่ายเพียงปีละครั้ง อย่างค่าภาษีรถยนต์ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันภัยรถยนต์ และวันนี้ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. รถยนต์ ว่ามีความสำคัญอย่างไร คุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง ตามมาดูกัน

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร

ประกันภัย พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถยนต์ทุกคันซึ่งจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อดูแลเรื่องค่ารักษาพยาบาลกรณีเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงให้เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต โดยคุ้มครองหมดไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณี หรือคนเดินเท้า ที่สำคัญไม่ต้องรอพิสูจน์หลักฐานว่าใครเป็นฝ่ายถูกด้วย

พ.ร.บ. รถยนต์ มีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ข้อบังคับภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องมีไว้ เพื่อใช้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถยนต์ทุกประเภทหรือผู้ใช้ถนน ตามสิทธิคุ้มครองจากเงินกองกลางรถยนต์ทุกคันที่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ กรณีประสบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถ หรืออธิบายเข้าใจง่าย ๆ ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองแค่ “คน” เท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่นๆ

พ.ร.บ. รถยนต์ มีกี่ประเภท

ประเภทของ พ.ร.บ. รถยนต์ ถูกแบ่งประเภทตามลักษณะของรถ ขนาดรถ และขนาดเครื่องยนต์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประเภทรถจักรยานยนต์

  • รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี
  • รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 75 ซีซี ไม่เกิน 125 ซีซี
  • รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 125 ซีซี ไม่เกิน 150 ซีซี
  • รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 150 ซีซี

ประเภทรถยนต์โดยสาร

  • รถสามล้อเครื่อง ในเขต กทม.
  • รถสามล้อเครื่อง นอกเขต กทม.

ประเภทรถสกายแลป

ประเภทรถยนต์

  • รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)

ประเภทรถยนต์โดยสาร

  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้)
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง

ประเภทรถยนต์โดยสารหมวด 4 (วิ่งระหว่างอำเภอกับอำเภอในจังหวัด)

  • รถยนต์โดยสารขนาดไม่เกิน 15 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารขนาดเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารขนาดเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารขนาดเกิน 40 ที่นั่ง

ประเภทรถยนต์บรรทุก

  • รถยนต์บรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน
  • รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน
  • รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน
  • รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน 12 ตัน

ประเภทรถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด

  • รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมไม่เกิน 12 ตัน
  • รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมเกิน 12 ตัน

รถยนต์ประเภทอื่น ๆ

  • หัวรถลากจูง
  • รถพ่วง
  • รถยนต์ป้ายแดง
  • รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร
  • รถยนต์ประเภทอื่น ๆ

สภาพรถยนต์หลังประสบอุบัติเหตุ

พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่น

พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง

เมื่อทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ. รถยนต์ มีทั้งหมดกี่ประเภท คราวนี้ตามมาดูในส่วนของความคุ้มครองกัน พบว่า ผู้ประสบภัยจากรถไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ได้รับเงินชดเชยค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. รถยนต์ โดยไม่ต้องรอผลพิสูจน์ว่าใครเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดในอุบัติเหตุดังกล่าว โดยมีรายละเอียดความคุ้มครองดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น

  • กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล โดยจ่ายตามจริงคนละไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยคนละ 35,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล ได้รับเงินชดเชยรวมกันคนละไม่เกิน 30,000 บาท

ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม

ภายหลังเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถพิสูจน์หลักฐานได้แล้วว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายนั้นสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (ตามจริง) ไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
  • กรณีสูญเสียนิ้ว (นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป) ได้รับเงินชดเชยคนละ 200,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
  • ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพได้) รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
  • กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)

พ.ร.บ. รถยนต์ขาดแล้วประสบอุบัติจะเป็นอย่างไร

ใครที่สงสัยว่า ถ้า พ.ร.บ. รถยนต์ขาดหรือหมดอายุ แล้วเกิดอุบัติเหตุรถชนไม่ว่าจะมีคู่กรณีหรือไม่มีคู่กรณี ยังได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ หรือไม่ คำตอบตรงส่วนนี้ สามารถแยกได้เป็นกรณี ๆ ดังนี้

เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี

เป็นกรณีขับรถเฉี่ยวชนกำแพง ชนกระถางต้นไม้ โดนชนแล้วหนี หรือรถตกถนน แม้รถยนต์และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย กรณีนี้ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ. รถยนต์ แต่หากรถมีประกันภัยภาพสมัครใจคุณจะได้รับความคุ้มครองตามข้อตกลงในกรมธรรม์ที่ทำไว้ อาทิ ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 2+ หรือประกันภัยรถยนต์ ชั้น 3+ เนื่องจากหลักฐานที่ใช้เคลมประกันมีแค่ใบขับขี่ และประกันภัยรถยนต์ซึ่งยังไม่หมดอายุ ไม่จำเป็นต้องใช้ พ.ร.บ. รถยนต์

เกิดอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี เนื่องจากขับรถเฉี่ยวชนคนอื่น

รถที่ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่คู่กรณีสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกรมการประกันภัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จากนั้นหน่วยงานจะมาเรียกเก็บเงินส่วนนั้นคืนจากเจ้าของรถ

เกิดอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี เนื่องจากถูกคนอื่นขับรถชน

หากฝ่ายผิดมี พ.ร.บ. รถยนต์ คุณซึ่งเป็นเจ้าของรถที่ถูกชนยังได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้เสียหาย

ไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ต่อภาษีรถยนต์ได้ไหม

ปัจจุบันกฎหมายบังคับว่า รถยนต์คันใดไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ เนื่องจากต้องใช้ พ.ร.บ. ยื่นประกอบการเสียภาษีรถยนต์ด้วย นอกจากนี้การปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดหรือไม่ต่อ ยังมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และถ้านำรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ออกมาขับ จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

พอมาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะเห็นถึงความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์แล้วว่า พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถใช้ถนนให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัย โดยเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่า พ.ร.บ. ใกล้หมดอายุ สามารถยื่นเอกสารต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ควบคู่ไปพร้อมกับการต่อทะเบียนรถยนต์ได้ โดยใช้เอกสารดังต่อไปนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง

แม้มี พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองอยู่แล้ว แต่ถ้าใครต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมอันเกิดจากการใช้รถยนต์ สามารถเลือกทำประกันภัยรถยนต์ควบคู่ไปด้วย เพื่อสร้างความอุ่นใจในยามเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 2+ หรือประกันภัยรถยนต์ ชั้น 3+ สามารถเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ หรือแผนประกันภัย พ.ร.บ. รถยนต์ของแต่ละบริษัทประกันภัยได้ง่าย ๆ ที่ Hugs Insurance ที่ปรึกษามืออาชีพด้านประกันภัยที่พร้อมดูแลและให้คำแนะนำคุณอย่างจริงใจ หรือโทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

เปรียบเทียบราคา พ.ร.บ. รถยนต์ ผ่านฮักส์...ที่นี่


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+