loading
คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ เงื่อนไขเงินชดเชยรายได้คลอดบุตร

คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ เงื่อนไขเงินชดเชยรายได้คลอดบุตร

เขียนเมื่อวันที่ 21/09/2021

เงินชดเชยรายได้คลอดบุตร สิทธิประโยชน์ที่คุณแม่ควรรู้

ประกันสังคม ถือเป็นสวัสดิการที่ทางภาครัฐมอบให้แก่ลูกจ้างและนายจ้าง ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราต่าง ๆ ตามกฎหมายกำหนด ถือเป็นการสร้างหลักประกันในการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ที่มีรายได้และจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในการรับสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ โดยนายจ้างและลูกจ้างต้องส่งเงินสมทบทุนเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน หักจากฐานเงินเดือนลูกจ้างอยู่ที่ 5% แต่ต้องไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน กรณีเสียชีวิต เงินชดเชยรายได้ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมตามที่ประกันสังคมกำหนด

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังตั้งครรภ์และมีสิทธิประกันสังคมเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถรับสิทธิประโยชน์ในกรณีคลอดบุตรจากประกันสังคมได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ 

  • เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
  • กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 

สิทธิประโยชน์เงินคลอดบุตรได้เท่าไหร่

สิทธิประโยชน์เงินคลอดบุตร ประกันสังคม

สิทธิประโยชน์เงินคลอดบุตร

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ประกันสังคมจะมอบให้ในกรณีคลอดบุตรสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีดังนี้ 

  • ค่าคลอดบุตรประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตน ในอัตรา 15,000 บาท ต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง (จากเดิม 13,000 บาท) รวมค่าใช้จ่ายทั้งค่าทำคลอด ค่ายา ค่าห้อง ค่ารถพยาบาล หรือค่าบริการอื่น ๆ (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
  • สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เฉลี่ยระยะเวลา 90 วัน และสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์ในการหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 

นอกจากนี้ตามประกาศพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพในปี 2564 ให้กับผู้ประกันตน ปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท จากเดิม 3 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,000 บาท ตามเงื่อนไขดังนี้