loading
คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

เขียนเมื่อวันที่ 03/08/2021

หญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไรให้ปลอดภัย

หลังสถานการณ์โควิด-19 กลับมาแพร่ระบาดหนักอีกรอบ มียอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้หน่วยงานภาครัฐเร่งจัดหาวัคซีนโควิด-19 เพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อมาตรการป้องกันการระบาดของ COVID-19 ในขณะนี้ได้ แต่เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่เพิ่งพบไม่ถึง 3 ปี การพัฒนาหรือผลิตวัคซีนต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปี ส่งผลให้วัคซีนโควิด-19 ที่ฉีดให้ประชากรในปัจจุบัน เป็นวัคซีนที่อนุญาตให้ใช้ได้เป็นกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน ไม่แปลกที่หลายคนรู้สึกกังวลใจเรื่องผลข้างเคียงจนเกิดอาการลังเล โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ว่าควรฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่ ต้องฉีดเมื่อไร แล้วมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

ไขข้อสงสัย คนท้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม ?

กรมอนามัยและราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป (หรือมากกว่า 3 เดือน) สามารถรับการฉีดวัคซีน COVID-19 ได้ เพราะถ้าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อจะมีอันตรายมากกว่าผู้ที่ไม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงร่วม อย่าง เป็นโรคอ้วน หรือมีโรคประจำตัว

แต่ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ควรเลื่อนฉีดไปก่อน เพราะช่วงแรกของการตั้งครรภ์มีความเซนซิทีฟของทารกในครรภ์ค่อนข้างมาก ส่วนกรณีที่ฉีดวัคซีนแล้ว เพิ่งรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ก็ไม่เป็นอะไร เพียงต้องเลื่อนการฉีดเข็มที่ 2 ให้พ้น 12 สัปดาห์ไปก่อน

คนท้องสวมหน้ากากอนามัยฉีดวัคซีนโควิด

คนท้องที่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป สามารฉีดวัคซีนป้องกันโควิดได้

คนท้องควรฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่

สำหรับเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละคน โดยอาจพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็น

  • ความเสี่ยงหรือโอกาสในการติดเชื้อโควิด-19 อาทิ เป็นบุคลากรทางการแพทย์ หรืออยู่ในพื้นที่การระบาดสูง เป็นต้น
  • ความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังติดเชื้อ 
  • ผลข้างเคียงจากการติดเชื้อโควิด-19
  • โรคประจำตัว อาทิ โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ

ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 คนท้องต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

เมื่อได้คิวฉีดวัคซีนแล้ว คุณแม่ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนฉีดวัคซีน โดยมีคำแนะนำดังนี้

(1) เตรียมพร้อมสภาพร่างกาย

  • พักผ่อนให้เพียงพอไม่ต่ำกว่า 7-8 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี/วัน
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในวันที่มาฉีดวัคซีน
  • ต้องไม่มีอาการเจ็บป่วยหรือเป็นไข้ ถ้ามีควรเลื่อนการฉีดไปก่อนจนกว่าจะเป็นปกติแล้ว
  • งดออกกำลังกายหนัก 2 วันก่อนฉีด

(2) แจ้งแพทย์ก่อนฉีด 

  • ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงเรื่องโรคประจำตัว ยาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ ประวัติการแพ้ยา รวมถึงอาการแพ้วัคซีนชนิดอื่น ๆ

วัคซีนโควิด-19 แบบไหน ? ที่เหมาะกับคนท้อง

ขวดวัคซีนโควิดวางบนปฏิทิน

ฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต้านเชื้อไวรัส

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ใช้ในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 6 ยี่ห้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. วัคซีน Sinovac (ซิโนแวค)

หรือวัคซีนโคโรนาแวค เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายผลิตขึ้นมาด้วยวิธีการดั้งเดิมที่มีการใช้มานานแล้ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ18 ปี ไปจนถึงอายุ 59 ปี ทั้งได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์จากกรมอนามัยของประเทศไทย

  1. วัคซีน AstraZeneca (แอสตราเซเนกา)

เป็นวัคซีนที่มีการตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของเชื้อ มีโอกาสเป็นไข้หลังฉีด เมื่อพิจารณาตามคำแนะนำประเทศไทย พบว่า AstraZeneca เหมาะสำหรับกลุ่มเสี่ยง 7 โรคเรื้อรัง และผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

  1. วัคซีน Johnson & Johnson (จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน)

จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวในขณะนี้ที่ฉีดเพียงเข็มเดียว เหมาะฉีดป้องกันโรค COVID-19 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

  1. วัคซีน Moderna (โมเดอร์นา) 

เป็นวัคซีนที่ถูกรับรองให้ฉีดได้ในหญิงตั้งครรภ์โดยหน่วยงานควบคุมโรคติดต่อของประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) ทั้งเหมาะกับผู้ที่มีอายุ 18 ปี ไปจนถึงอายุ 60 ปี

  1. วัคซีน Sinopharm (ซิโนฟาร์ม)

ซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ผลิตโดยการนำเชื้อไวรัสโควิด-19 มาเลี้ยงและทำให้หมดฤทธิ์ด้วยความร้อนหรือสารเคมี จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นวัคซีน เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติเมื่อฉีดเข้าร่างกาย โดยผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้

  1. วัคซีน Pfizer (ไฟเซอร์)

วัคซีนไฟเซอร์ มีชื่อทางการว่า BNT162b2 เป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่คิดค้นโดยบริษัทไฟเซอร์ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันชื่อไอโบเอ็นเท็ค (BioNTech) เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ทั้งถูกรับรองโดยหน่วยงานควบคุมโรคติดต่อของประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) ว่า หญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้

แต่ปัจจุบันประเทศไทย มีวัคซีนโควิดฟรีหรือวัคซีนรัฐบาล เพียง 2 ชนิด คือ วัคซีน Sinovac และวัคซีน AstraZeneca โดยจากข้อมูลเบื้องต้นของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย หญิงตั้งครรภ์สามารถฉีดวัคซีนได้ทั้ง 2 ชนิด ทั้งพบว่า วัคซีน Sinovac มีอัตราการเกิดไข้หลังฉีดน้อยกว่าวัคซีน AstraZeneca

 

คนท้องฉีดวัคซีนแล้ว มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

สำหรับผลข้างเคียงอาการแพ้วัคซีนโควิด-19 ในผู้หญิงตั้งครรภ์ก็ไม่ต่างกับบุคคลทั่วไป อาทิ ปวดศีรษะ มีอาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน เหนื่อยล้า ท้องเสีย หรือมีไข้หลังได้รับวัคซีน ซึ่งสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์อยู่ แนะนำให้ทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หลังได้รับวัคซีน แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหรือทานยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ตัดสินใจจะไปฉีดวัคซีน ควรเข้ามาพบสูติแพทย์เพื่อปรึกษาและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด พร้อมเพิ่มความมั่นใจก่อนการไปฉีดวัคซีนด้วยการทำประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 ที่ให้ความคุ้มครองจากการฉีดวัคซีนโควิด เช่น ผลกระทบจากการแพ้วัคซีน ค่ารักษาพยาบาลในกรณีโคม่า หรือมีอาการแพ้รุนแรง ​และเงินชดเชยรายได้เมื่อต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

และถ้าอยากทำประกันภัยสุขภาพ หรือประกันภัยโควิดดี ๆ สักตัว เพื่อรับประกันความเสี่ยงหากติดโควิด-19 ขึ้นมา อย่าลืมนึกถึงฮักส์ โบรกเกอร์ประกันภัยที่ยินดีเป็นผู้ช่วยให้คุณตามหาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ สามารถโทรปรึกษาฮักส์ได้ที่ 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันวัคซีนโควิด

#ประกันภัยโควิด

#ฮักส์ประกันภัยวัคซีน

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+