loading
เฝ้าระวัง! รวมสายพันธุ์โควิด-19 อันตรายถึงชีวิต

เฝ้าระวัง! รวมสายพันธุ์โควิด-19 อันตรายถึงชีวิต

เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021

รู้จักไวรัสโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์

โควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เริ่มมีการระบาดตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2019 โดย WHO ได้ให้ชื่อว่า coronavirus disease starting in 2019 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า covid-19 เป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่มีการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปทั่วโลก ซึ่งในตอนนี้เริ่มมีการผลิตและฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว แต่ก็ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ

สายพันธุ์ไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์อยู่เสมอ ถือเป็นสิ่งปกติของไวรัสทุก ๆ สายพันธุ์เพื่อความอยู่รอด มนุษย์จึงต้องมีการคิดค้นวิธีการรักษาและป้องกัน เช่น การฉีดวัคซีนโควิด การรับประทานยาที่มีสรรพคุณต้านโควิด ทั้งยาสมัยใหม่และยาสมุนไพร การปฏิบัติตัวที่ป้องกันการติดเชื้อ การกลายพันธุ์แต่ละครั้งจึงมีการศึกษาและวิจัยลักษณะการกลายพันธุ์ เพื่อการเตรียมรับมืออย่างถูกวิธี และลดโอกาสเจ็บป่วยต่อการกลายพันธุ์ในอนาคตของเชื้อไวรัส

สาเหตุของการเกิดไวรัสโควิด-19

ต้นกำเนิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สันนิษฐานว่ามาจากมณฑลหูเป่ย ประเทศจีน การกำเนิดไวรัสโคโรนานี้มีการตั้งข้อสังเกตมาตั้งแต่ช่วงที่โรคซาร์สระบาดในปี 2003 เพราะมีการเก็บตัวอย่างค้างคาวที่พบเชื้อซาร์ส และเห็นว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถพัฒนาเป็นไวรัสชนิดอื่นได้อีก และเชื้อนั้นก็พัฒนาจนกลายมาเป็นไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน

สาเหตุของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเริ่มต้นมาจากตลาดอาหารทะเลหูหนาน เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน เชื่อว่าเกิดจากการรับประทานอาหารป่า คาดว่าเป็นงู และงูตัวนี้ได้กินค้างคาวที่มีเชื้อไวรัสโคโรนามาก่อน ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสและแพร่กระจายเป็นวงกว้าง

หน้ากากอนามัย

หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันการรับเชื้อโควิด-19

การแพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศอื่น ๆ เริ่มต้นจากประเทศในทวีปเอเชีย โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่พบการติดเชื้อนอกประเทศ ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากจน WHO ประกาศว่าไวรัสโคโรนาเข้าสู่ระยะการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ การแพร่กระจายเริ่มชะลอตัวลงในช่วงกลางปี 2020 ก่อนจะมีการกลายพันธ์ของไวรัสโคโรนาช่วงปลายปี 2020 และยังคงระบาดเรื่อยมาจนถึงปี 2021

สายพันธุ์ไวรัสโควิด-19

ไวรัสโคโรนาเป็นประเภทของไวรัสที่มีการจัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ alpha, beta, gamma, and delta ซึ่งใน 4 ประเภทนี้มี 7 ประเภทที่เป็นกลุ่มย่อยสามารถส่งผ่านถึงคนได้จากข้อมูลของ CDC (Centers for Disease Control) คือ

  • 229E (alpha)
  • NL63 (alpha)
  • OC43 (beta)
  • HKU1 (beta)
  • MERS-CoV ไวรัสของโรคเมอร์ส (MERS)
  • SARS-CoV ไวรัสของโรคซาร์ส (SARS)
  • SARS-CoV-2 ไวรัสของโรคโควิด-19 (COVID-19)

จากข้อมูลข้างต้น ทำให้มีการศึกษาสายพันธุ์ไวรัสโควิด-19 SARS-CoV-2 และพบว่ามีการแยกสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ดังนี้

  • สายพันธุ์ S (Serine) - สายพันธุ์ต้นกำเนิดจากประเทศจีน การแพร่กระจายน้อยที่สุด
  • สายพันธุ์ L (Leucine) – สายพันธุ์ต้นกำเนิดคู่กับสายพันธุ์ S แต่แพร่กระจายได้มากกว่า
  • สายพันธุ์ V (Valine) – สายพันธุ์ที่เริ่มต้นจากสายพันธุ์ L แพร่กระจายได้น้อย
  • สายพันธุ์ G (Glycine) - สายพันธุ์ที่เริ่มต้นกลายพันธุ์จากสายพันธุ์ L แพร่กระจายได้มากกว่าสายพันธุ์ V

การกลายพันธุ์โควิด-19 ที่ระบาดในปัจจุบัน

การกลายพันธุ์ หรือที่เรียกว่า วาเรียนท์ (Variants) เป็นเรื่องปกติของไวรัส เพราะเมื่อไวรัสจับตัวกับเซลล์จะมีการสร้าง RNA หรือสายพอลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์ที่ทำหน้าที่สร้างโปรตีนตามลำดับของ DNA เพื่อให้เกิดการแพร่กระจายไวรัสในร่างกาย แต่หากการสร้าง RNA ผิดพลาด ไวรัสก็จะเปลี่ยนรูปร่าง และส่งผลให้กลายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้เป็นการกลายพันธุ์เพื่อให้แพร่กระจายเร็วขึ้น มี 4 สายพันธุ์หลัก ๆ ดังนี้

  • สายพันธุ์ B.1.1.7(GR,G) - ไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ
    เพราะพบที่แรกในประเทศอังกฤษ ช่วงปลายเดือนกันยายน 2563 ลักษณะของไวรัสจะจับตัวกับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้น มีการแบ่งเซล์ได้รวดเร็ว จึงมีจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณโพรงจมูก ส่งผลให้แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วเช่นกัน
  • สายพันธุ์ B.1.351(GH,G) - ไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้
    เพราะพบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2563 ไวรัสสามารถจับตัวกับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้นเช่นกัน และมีผลต่อการรักษาโดยวัคซีน เพราะวัคซีนทดลองกับไวรัสที่ยังไม่กลายพันธุ์ แต่ไวรัสพันธุ์แอฟริกาใต้สามารถลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้เล็กน้อย
  • สายพันธุ์ P.1(GR) - ไวรัสสายพันธุ์บราซิล
    เพราะพบครั้งแรกในนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่เดินทางกลับจากประเทศบราซิลในช่วงเดือนธันวาคม 2563 เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้าง “ดื้อยา” ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนหลายตัวลดลง เช่น Pfizer, CoronaVac, AstraZeneca และวัคซีนหลายตัวใช้ไม่ได้ผล
  • สายพันธ์ B.1.617 - ไวรัสสายพันธุ์อินเดีย
    เพราะพบการระบาดครั้งแรกในประเทศอินเดียในช่วงเดือนตุลาคม 2563 แต่เริ่มแพร่ระบาดในวงกว้างช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นไวรัสกลายพันธุ์แบบ Double mutant หรือการกลายพันธุ์ 2 ตำแหน่งพร้อมกัน ทำให้วัคซีนเสื่อมประสิทธิภาพลงจากการกลายพันธุ์ และสามารถติดเชื้อต่อผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ได้ รวมถึงแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น มีโอกาสเป็นระลอกใหม่ของการแพร่ระบาดโควิด-19

นอกจากการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ที่กล่าวมา ยังพบว่าขณะนี้มีการเริ่มกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ P.2 และ P.4 ในประเทศบราซิล แต่ยังไม่แพร่กระจายเป็นวงกว้างจนน่าเป็นห่วง ยังคงเป็นสายพันธุ์ P.1 ที่ระบาดอย่างหนักในขณะนี้ และคาดว่าในอนาคตไวรัสยังคงมีการกลายพันธุ์ต่อไปจนกลายเป็นโรคตามฤดูกาล

โควิด-19 เป็นการระบาดครั้งใหญ่ กินระยะเวลายาวนานตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2562 จนถึงช่วงกลางปี 2564 ก็ยังคงระบาดอยู่ และการแพร่กระจายเชื้อก็รวดเร็วขึ้น เพื่อประกันความเสี่ยงหากติดโควิด-19 ขึ้นมา ควรมีประกันภัยสุขภาพ หรือประกันภัยโควิดไว้ เช่น ทิพยประกันภัย Health Care 25,000 ที่คุ้มครองทั้งการเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) และการนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน (IPD) พร้อมจ่ายค่าห้องเมื่อต้องนอนโรงพยาบาลให้ทั้งห้องผู้ป่วยปกติและห้องผู้ป่วยหนัก มีวงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 200,000 บาท

รวมทั้งยังมีประกันการโคม่าจากการแพ้วัคซีนโควิดให้อีกด้วย ช่วงโควิด-19 ระบาดแบบนี้ต้องดูแลตัวเอง และหากอยากทำประกันภัยสุขภาพดี ๆ สักตัว อย่าลืมนึกถึงฮักส์ เพราะเราให้คำปรึกษาอย่างจริงใจ พร้อมหาประกันภัยที่ตรงใจผู้ซื้อที่สุด ติดต่อฮักส์ได้ทุกช่องทางที่สะดวก ทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855

หาประกันภัยโควิด-19 เตรียมไว้ อุ่นใจในช่วงไวรัสแพร่ระบาด

 


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ฮักส์ประกันโควิด

#โควิด-19

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+