loading
IPD และ OPD คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?

IPD และ OPD คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?

เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021

มนุษย์เงินเดือน ควรเลือกซื้อประกันสุขภาพแบบไหนดี

ปัจจุบันผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการวางแผนรับมือกับค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยตระหนักถึงความเสี่ยงยามเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรงหรืออุบัติเหตุ ซึ่งค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นอาจมากจากสวัสดิการประกันสังคมที่เรามีอยู่ หลายคนจึงมองหาผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ นั่นก็คือ “ประกันสุขภาพ” หลักประกันที่ช่วยให้คุณอุ่นใจยามเจ็บป่วย

เพราะโรคภัยไข้เจ็บบางครั้งมาเยือนแบบไม่ทันตั้งตัว ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคืออาจมีโรคร้ายที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ยากต่อการรักษา อีกทั้งมีค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง อาทิ โรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยในลำดับต้น ๆ โรคไต รวมถึงโรคเบาหวาน ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคร้ายที่มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะฉะนั้นการทำประกันสุขภาพ รวมถึงประกันมะเร็ง และประกันโรคร้ายแรงจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป จะได้อุ่นใจว่ามีเงินรักษายามเจ็บป่วยในอนาคต ไม่เป็นภาระของตัวเองหรือคนในครอบครัว

ประกันสุขภาพ คือ ผลิตภัณฑ์ประกันภัยอีกรูปแบบหนึ่งที่เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ หรือกรณีได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าผ่าตัด ค่าห้องพักขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือค่าห้อง ICU เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงเหล่านี้ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ดังนั้น ถ้ามีประกันสุขภาพทางบริษัทประกันจะเป็นผู้เข้าดูแลค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้แทน และปัจจุบันประกันสุขภาพมีความคุ้มครองที่น่าสนใจหลากหลายรูปแบบ อาทิ ให้ความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุ, คุ้มครองโรคร้ายแรง, ชดเชยรายได้ หรือคุ้มครองกรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก เป็นต้น วันนี้เราขอพาทุกคนไปทำความรู้จักประกันสุขภาพ IPD และประกันสุขภาพ OPD คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร ? หากมนุษย์เงินเดือนสนใจทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมควรเลือกทำประกันสุขภาพ IPD หรือ OPD ดี เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองครอบคลุมมากขึ้นจากสวัสดิการเดิมที่มีอยู่

ประกันสุขภาพ IPD และ OPD คืออะไร

ประกันสุขภาพ IPD คือ

แพทย์กำลังปฏิบัติหน้าที่ผ่าตัดช่วยเหลือผู้ป่วย

ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน หรือ IPD (IN-PATIENT-DEPARTMENT) เป็นรูปแบบประกันที่มอบความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกันเป็นเวลา 6 ชั่วโมงขึ้นไป หรือต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตามคำวินิจฉัยและคำแนะนำของแพทย์ โดยประกันสุขภาพ IPD จะเข้ามาดูแลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาทิ ค่าปรึกษาแพทย์, ค่าห้องพัก, ค่าอาหาร, ค่าตรวจทางชีวเคมี, ค่าบริการใช้ห้องผ่าตัด, ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด และค่า X-Ray เป็นต้น

ประกันสุขภาพ OPD คือ

แพทย์กำลังวัดชีพจรของผู้ป่วย

เป็นประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ไม่ต้องนอนพักรักษาตัว เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยไม่รุนแรงหรือไม่ต้องนอนรอดูอาการ อาทิ มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะเล็กน้อย หรือมีแผลหกล้ม แผลมีดบาด เป็นต้น โดยประกันสุขภาพ OPD เข้ามาคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงพยาบาล, ค่ายา, ค่าปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หรือค่าบริการทางการแพทย์

ประกันสุขภาพ IPD และ OPD แตกต่างกันอย่างไร ?

เมื่อพิจารณาความคุ้มครองของประกันสุขภาพ IPD และ OPD พบว่า แผนประกันสุขภาพทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันตรงที่ประกันสุขภาพ IPD เข้ามาดูแลค่ารักษาพยาบาลเฉพาะผู้ป่วยในที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตามความเห็นของแพทย์เท่านั้น ซึ่งต่างไปจากประกันสุขภาพแบบ OPD หรือผู้ป่วยนอก ที่เข้ามาดูแลผู้ป่วยที่เดินทางมาพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยทั่ว ๆ ไป หรืออาการบาดเจ็บเล็กน้อย เมื่อรับยาตามที่แพทย์สั่งเสร็จแล้วกลับบ้านได้เลย

เลือกทำประกันสุขภาพ IPD และ OPD ที่ไหนดี
ประกันภัยสุขภาพ Viriyah Healthcare by BDMS จากวิริยะประกันภัย

ประกันสุขภาพ Viriyah Healthcare by BDMS

ขอแนะนำ “ประกันสุขภาพ Viriyah Healthcare by BDMS” จากบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด ซึ่งเป็นประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นผู้ป่วยใน (IPD) เท่านั้น โดยแต่ละแผนมีความแตกต่างที่เบี้ยประกัน วงเงินคุ้มครอง IPD ต่อปี หรือค่าห้องพัก มีรายละเอียด ดังนี้

Viriyah Healthcare by BDMS (แผน 1) :

มอบวงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท/ปี โดยจ่ายเบี้ยเริ่มต้น 6,000 บาท/ปี ขณะที่ให้ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล สูงถึง 3,000 บาท/วัน และค่าห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) อยู่ที่ 6,000 บาท/วัน และไม่จำกัดวงเงินค่ารักษาต่อครั้ง

Viriyah Healthcare by BDMS (แผน 2) :

ให้วงเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท/ปี จ่ายเบี้ยประกันเริ่มต้น 8,700 บาท/ปี พร้อมมอบความคุ้มครองค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล จำนวน 5,000 บาท/วัน และให้ค่าห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) สูงถึง 10,000 บาท/วัน โดยไม่จำกัดวงเงินค่ารักษาต่อครั้ง

Viriyah Healthcare by BDMS (แผน 3) :

มีวงเงินคุ้มครองสูงสุด 700,000 บาท/ปี โดยจ่ายเบี้ยเริ่มต้น 12,000 บาท/ปี ขณะที่ให้ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล สูงถึง 8,000 บาท/วัน และค่าห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) อยู่ที่ 16,000 บาท/วัน รวมถึงไม่จำกัดวงเงินค่ารักษาต่อครั้งอีกด้วย

Viriyah Healthcare by BDMS

แผนประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่าย ประกันแผนนี้ยังมีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ เป็นประกันสุขภาพ IPD ที่ผูกการรักษากับโรงพยาบาลในเครือ BDMS ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานการรักษาและบริการระดับโลก และมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศถึง 47 แห่ง ทำให้มั่นใจได้ว่า ยามเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินคุณจะได้รับการดูแลที่ดีเยี่ยม รวดเร็ว และฉับไวอย่างแน่นอน สำหรับใครที่มีประกัน OPD (ผู้ป่วยนอก) หรือมีประกันกลุ่มของบริษัทคุ้มครองอยู่แล้ว สามารถเลือกซื้อประกันสุขภาพ Viriyah Healthcare by BDMS แผนใดแผนหนึ่ง เพื่อเสริมความคุ้มครองเรื่องสุขภาพเพิ่มเติมจะได้ครอบคลุม หมดห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายสุขภาพ

ประกันภัยสุขภาพ HEALTH EASY จากเมืองไทยประกันภัย

ประกันสุขภาพ HEALTH EASY

เมืองไทยประกันภัย กับแผนประกันสุขภาพ HEALTH EASY มีเบี้ยเริ่มต้นที่ 2,160 บาท/ปี พร้อมมอบความคุ้มครองสูงถึง 100,000 บาท/ครั้ง/โรค และให้ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล 2,000 บาท/วัน ขณะที่ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าแพทย์ และค่าผ่าตัด จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง

เมื่อพิจารณาความคุ้มครองควบคู่กับเบี้ยประกัน พบว่า ค่าเบี้ยไม่แพง ตกเพียงวันละ 6 บาทเท่านั้น ไม่แปลกที่มนุษย์เงินเดือนเลือกสมัครแผนประกันสุขภาพ HEALTH EASY เพื่อเสริมความคุ้มครองจากประกันภัยกลุ่ม เพราะค่าเสียหายส่วนแรกที่เราสามารถใช้ประกันกลุ่มออกไปก่อน และส่วนที่เหลือก็ให้ประกันภัยตัวนี้จัดการต่อได้เลย ไม่ครอบคลุมให้มันรู้ไป แถมแผนประกันภัยนี้สามารถซื้อความคุ้มครอง OPD และค่าชดเชยจากการสูญเสียรายได้ระหว่างรักษาตัวเพิ่มได้

อย่างที่ทราบกันดีว่า อาการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุไม่เลือกเวลาเกิด หากเจ็บป่วยในสถานที่ไกลจากโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม ไม่ใช่แค่เสียสิทธิการเคลมค่ารักษาพยาบาล นี่อาจนำมาซึ่งภาระก้อนใหญ่ ฉะนั้นการเลือกซื้อประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตัวเองหรือคนที่คุณรัก ถือเป็นการลงทุนที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีที่สุด โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่นับวันมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น

ท่านไหนที่ไม่รู้ว่า ควรเลือกซื้อประกันสุขภาพ IPD และ OPD จากบริษัทไหนดี ลองพิจารณาแผนประกันสุขภาพที่เราแนะนำในข้างต้นได้เช่นกัน หรือโทรปรึกษากับฮักส์ 0 2975 5855 เพื่อหาประกันภัยสุขภาพที่ตอบโจทย์ แต่ไม่ว่าคุณเลือกซื้อประกันสุขภาพที่มีวงเงินคุ้มครองสูงเพียงใด ก็ไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วย เพราะสุขภาพที่ดีคือรางวัลที่จะอยู่กับตัวเราไปตลอด

เปรียบเทียบและเลือกซื้อประกันสุขภาพ ผ่านฮักส์...ที่นี่


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ฮักส์ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+