loading
ที่ตรวจโควิดมีกี่แบบ ศึกษาให้ดีก่อนใช้งาน

ที่ตรวจโควิดมีกี่แบบ ศึกษาให้ดีก่อนใช้งาน

เขียนเมื่อวันที่ 08/09/2021

ชุดตรวจโควิด19 ที่ใช้ในปัจจุบัน มีกี่แบบ

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีจำนวนยอดผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น ทำให้หลายคนมีความกังวลเนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่มีการแพร่กระจายรวดเร็วและสามารถติดเชื้อได้ง่าย การเริ่มต้นหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติของร่างกายเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม อาทิ มีไข้เกิน 37.5 องศา หรือมีอาการ ไอ เจ็บคอ ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น รวมถึงมีอาการหายใจลำบากหรือไม่ แต่การตรวจโควิด-19 ก็เป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยได้ว่ายังไม่ติดเชื้อ ถึงแม้ขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังได้รับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสอยู่สูงเช่นกัน การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธีที่ได้รับการรับรอง ทั้งการตรวจที่โรงพยาบาล แล็ปตรวจหาเชื้อ หรือชุดตรวจโควิดด้วยตัวเอง ซึ่งมีที่ตรวจโควิด-19 แบบไหนบ้าง ฮักส์รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาฝาก

ชุดตรวจโควิด19 ในไทย มีแบบไหนบ้าง 

สำหรับการตรวจโควิด-19 ในประเทศไทยมีการตรวจ 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ การตรวจแบบ RT-PCR และการตรวจด้วยชุดตรวจโควิด Rapid Test ดังนี้ 

1.การตรวจแบบ Real Time-PCR 

ตรวจ RT-PCR คืออะไร การตรวจโควิด-19 แบบ RT-PCR (Polymerase chain reaction) เป็นวีธีการตรวจที่ได้รับการยอมรับและแนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เนื่องจากเป็นวิธีที่มีการตรวจสอบและวัดผลของการตรวจหาเชื้อผ่านห้องปฏิบัติการ มีความถูกต้องและแม่นยำสูง สามารถตรวจหาเชื้อแม้จะมีปริมาณน้อยภายในร่างกายได้ ด้วยวิธีการ Swab เก็บตัวอย่างเชื้อจากบริเวณหลังโพรงจมูก และลำคอ โดยระยะเวลาในการรอผลจะอยู่ที่ 48-72 ชั่วโมง การตรวจด้วยวิธีการนี้จำเป็นต้องใช้ห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง สถานที่สำหรับตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR ส่วนใหญ่จึงเป็นที่โรงพยาบาล คลินิก และแล็บตรวจโควิด

2.การตรวจแบบ Rapid Antigen Test

หนึ่งในรูปแบบการตรวจของ Lateral Flow Test (LFT) เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยอุปกรณ์ทดสอบอย่างง่ายที่มีความรวดเร็ว สามารถใช้งานเองได้ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือศูนย์ตรวจชุมชน และในปัจจุบันหลายแห่งเปิดให้ตรวจ Rapid Antigen Test เพื่อเป็นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดย Rapid Antigen Test เป็นการตรวจเพื่อหาโปรตีนของเชื้อ ที่จะปรากฏภายในร่างกายของผู้ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ชุดตรวจแบบ Rapid Test ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดการตรวจ ดังนี้ 

อุปกรณ์ชุดตรวจโควิด

ตรวจโควิดแบบ Rapid Antigen Test 

1. ชุดตรวจโควิด Rapid Test หรือ Antigen Test Kit

ในปัจจุบันมีตัวเลือกการตรวจประเภทนี้อยู่ 2 วิธีคือ การตรวจหาเชื้อแบบ Swab เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งบริเวณหลังโพรงจมูก และลำคอ (Nasal Swab) เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือสงสัยว่าติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ อีกหนึ่งประเภทคือชุดตรวจโควิด-19 น้ำลาย (Saliva) ที่สามารถใช้งานได้ง่ายเหมาะกับทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะเด็กเล็กที่ต้องทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ใช้ระยะเวลาในการทราบผลเร็วอยู่ที่ประมาณ 10-30 นาที สามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง ขณะนี้ชุดตรวจ Rapid Antigen Test ที่ได้รับการรับรองจากอย. แล้วทั้งหมด 42 ยี่ห้อ (ข้อมูลวันที่ 23 สิงหาคม 2564)

2. ชุดตรวจ Rapid Antibody Test

การตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG และ IgM  ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้ชุดตรวจชนิดนี้ด้วยตัวเอง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่ผลอาจคลาดเคลื่อนจากการเจาะเลือดไม่ถูกวิธี และอาจทำให้ติดเชื้อได้ โดยชุดตรวจ Rapid Antibody Test ถูกอนุญาตให้ใช้แค่ในสถานพยาบาลเท่านั้น

 

วิธีใช้ชุดตรวจโควิดด้วยตัวเอง 

การตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองที่บ้าน กับชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit ทั้งแบบสวอบจากโพรงจมูก (Nasal Swab) หรือน้ำลาย(Saliva) ด้วยวิธีการตรวจ ดังนี้ 

การใช้ชุดตรวจด้วยวิธี Nasal Swab

  • เลือกซื้อชุดตรวจ Antigen Test Kit ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากอย. เท่านั้น
  • ศึกษาวิธีการใช้งานและคำแนะนำการใช้อย่างถูกต้อง (แต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีการใช้งานที่ต่างกันควรทำการศึกษาโดยละเอียดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่แม่นยำ)
  • ทำความสะอาดโต๊ะหรือบริเวรที่จะวางชุดตรวจด้วยแอลกอฮอล์และควรล้างมือให้สะอาด
  • เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อม ให้แหย่ก้านเก็บตัวอย่างเข้าไปยังโพรงจมูก ลึกประมาณ 2.5 ซ.ม ขึ้นไป และแหย่ก้านเก็บตัวอย่างอีกหนึ่งอันล้วงบริเวณลำคอ ไม่ควรให้ปลายก้านสำลีสัมผัสกับส่วนอื่น ๆ ของปาก เช่น ลิ้น ฟัน เป็นต้น
  • จุ่มก้านสำลีที่เก็บตัวอย่างเรียบร้อย ลงในหลอดที่มีน้ำยาตรวจโควิด ทำการหมุนแกว่งเบา ๆ ประมาณ 5 ครั้ง
  • จากนั้นนำก้านสำลีออกเพื่อเตรียมทิ้งโดยใส่ถุงให้มิดชิด 
  • นำน้ำยาที่ได้มาบีบลงในแถบชุดตรวจโควิด-19 บริเวณจุดที่กำหนด
  • รอสังเกตผลตรวจ 15-20 นาที (ควรอ่านวิธีการตรวจว่าต้องรอผลกี่นาทีจึงทำการอ่านค่าบนแถบแสดงผล)
  • หากพบว่าผลตรวจเป็นบวก หรือขึ้น 2 ขีด บริเวณตัวอักษร C และ T ควรทำการตรวจซ้ำด้วยวิธี Real Time-PCR 

การใช้ชุดตรวจโควิดด้วยน้ำลาย (Saliva)

  • เก็บตัวอย่างน้ำลายโดยนำกรวยมารองบนปากหลอด แล้วบ้วนน้ำลายประมาณ 5 มล. ให้ถึงขีดที่กำหนด
  • บีบน้ำยาตรวจลงในหลอด ปิดฝาหลอดเก็บตัวอย่างด้วยที่ปิดให้แน่น แล้วผสมให้เข้ากัน โดยคว่ำหลอดขึ้น-ลง 10 ครั้ง
  • หยดตัวอย่างลงบนหลุมของแถบทดสอบ
  • ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วทำการอ่านผล
  • หากพบว่าผลตรวจเป็นบวก หรือขึ้น 2 ขีด บริเวณตัวอักษร C และ T ควรทำการตรวจซ้ำด้วยวิธี Real Time-PCR 

ชุดตรวจโควิดทั้ง 2 ชนิด เมื่อทำการตรวจเสร็จสิ้นแล้ว ควรใส่ถุงขยะแยกสีถุงให้ชัดเจน จากนั้นผสมน้ำ 2 ส่วน พร้อมกับน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก 1 ส่วน ใส่ลงในถุง นำชุดตรวจที่ใช้แล้วใส่ลงในถุงจนน้ำท่วมมิดชุดตรวจ จากนั้นทำการซ้อนถุงขยะอีกชั้น ปิดปากถุงให้แน่นทิ้งไว้ 10 นาที เขียนระบุบริเวณถุงว่าเป็นขยะติดเชื้อหรือชุดตรวจโควิดใส่น้ำยาแล้ว และนำไปทิ้งขยะในถังสีแดง หากไม่มีสามารถทิ้งในถังทั่วไปได้

ชุดตรวจ Antigen Test Kit

ผลทดสอบจากชุดตรวจโควิด Rapid Antigen Test 

การตรวจด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit เป็นเพียงการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้นเท่านั้น หากเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแต่ตรวจครั้งแรกไม่พบแนะนำให้ทิ้งระยะการตรวจไว้ 3-5 วัน จึงทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง วิธีการตรวจจะได้ผลแม่นยำต้องรับเชื้อมาแล้ว 5 - 14 วัน เมื่อตรวจผลปรากฏว่าพบเชื้อต้องทำการตรวจแบบ RT-PCR เพื่อรับผลตรวจจากห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้ง

สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย นอกจากการเร่งให้ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็วแล้วนั้น ควรต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด และควรเลือกความคุ้มครองให้แก่ตนเองรวมถึงครอบครัวด้วยการเลือกทำประกันภัยโควิด-19 ที่มอบความคุ้มครองให้คุณหมดกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในส่วนของความคุ้มครองกรณีเจอจ่ายจบ ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองกรณีเป็นผู้ป่วยโคม่า และการชดเชยรายได้ มีกรมธรรม์ประกันภัยให้เลือกหลากหลาย Hugs Insurance ยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยโควิด-19 ติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (อย.), BBC, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, prachachat


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันโควิด

#ฮักส์ประกันภัยโควิด

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+