loading
วิธีกักตัว 14 วัน ที่บ้าน ป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19

วิธีกักตัว 14 วัน ที่บ้าน ป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19

เขียนเมื่อวันที่ 03/08/2021

กักตัว 14 วัน อย่างไร ให้ปลอดภัยกับคนในบ้าน

สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ได้แพร่ระบาดและขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัดมากขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 พบว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ได้มีการปรับพื้นที่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสีแดงเข้มและสีแดง รวม 66 จังหวัด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่สูงอย่างต่อเนื่อง และในวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่มากถึง 13,002 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้ว 439,477 ราย อีกทั้งยังมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง

ประกอบลักษณะอาการป่วย COVID-19 รอบนี้ มีความแตกต่างจากเดิมที่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการมีไข้ ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น และลิ้นไม่รับรส แต่อาการใหม่เพิ่มเติม คือ ผู้ป่วยโควิด-19 หลายรายมีอาการตาแดง น้ำมูกไหล ไม่มีไข้ บางรายมีผื่นขึ้น ไม่แปลกที่หลายคนมีอาการสับสันว่า เราติดหรือยัง? หลังไปเจอคนที่ติดเชื้อมา แต่ระหว่างรอคิวตรวจหาเชื้อโควิด-19 ถ้าไม่มีสถานที่กักตัวควรจัดสรรพื้นที่บ้านอย่างไร เพื่อให้คนในบ้านปลอดภัยที่สุด Hugs Insurance มีคำตอบมาฝาก

เสี่ยงระดับไหน ควรกักตัว 14 วัน

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงเคยเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง หรือมีไทม์ไลน์ทับซ้อนกับผู้ติดเชื้อ จนเกิดคำถามว่าตนเข้าข่ายเสี่ยงสูงแล้วต้องกักตัวหรือไม่ มาดูกันว่า คุณเสี่ยงระดับไหนและควรปฏิบัติอย่างไร

(1) มีความเสี่ยงสูง 

เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสถานที่และเวลาเดียวกัน โดยไม่มีการป้องกัน ไม่ว่าจะอยู่บ้านเดียวกัน พูดคุยกันในระยะ 1 เมตร นานเกิน 5 นาที ถูกผู้ป่วยไอจามรด หรืออยู่ในสถานที่แออัดร่วมกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร เกิน 15 นาที

แนวทางปฏิบัติ : ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต้องดำเนินการกักกันโรค (Quarantine) 14 วัน นับจากวันที่สัมผัสครั้งสุดท้าย เพื่อสังเกตอาการของตัวเองและเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19

(2) มีความเสี่ยงต่ำ

เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่ยังตรวจไม่พบเชื้อ ทำให้มีโอกาสรับเชื้อโควิด-19 น้อยตามไปด้วย

แนวทางปฏิบัติ : ยังไม่ต้องหยุดงาน หรือหยุดเรียน และไม่ต้องกักตัว สามารถดำเนินชีวิตตามปกติ แต่ให้สังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน รวมถึงหลีกเลี่ยงการไปแหล่งชุมชนหรือสถานที่แออัด หากพบอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที

การกักตัว 14 วัน เริ่มนับจากวันไหน

สำหรับการกักตัวนั้น ในทางระบาดวิทยาสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

(1) การแยกกัก (Isolation)

คือการกักผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ COVID-19 จนครบระยะแพร่เชื้อ เป็นระยะ 14 วัน นับจากวันเริ่มมีอาการ หรือวันที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 หากไม่มีอาการ นั่นหมายความว่า เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้ว ผู้ป่วยจะไม่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้

(2) การกักกัน (Quarantine)

เป็นการกักตัวบุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือผู้ที่มีความเสี่ยง จนครบระยะเวลาฟักตัวของเชื้อไวรัส นั่นคือ 14 วัน นับจากวันที่เจอกับผู้ป่วยวันสุดท้าย

วิธีนับวันกักตัว 14 วัน

  • กรณีการแยกกัก : ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีอาการเป็นวันที่ 0 แล้ววันถัดมาค่อยนับเป็นวันที่ 1, 2, 3, … จนครบ 14 วัน 
  • กรณีการกักกัน : เริ่มนับวันกักตัว 14 วัน ตั้งแต่วันที่เจอผู้ป่วยวันสุดท้ายเป็นวันที่ 0 และในวันถัดมานับเป็นวันที่ 1 แล้วนับต่อจนครบ 14 วันเช่นกัน

เมื่อต้องกักตัว 14 วัน เตรียมที่พักและอุปกรณ์อะไรบ้าง

ภายในห้องนอน

วิธีกักตัว 14 วันป้องกันการแพร่เชื้อโควิด

(1) เมื่อรู้ตัวว่าต้องกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน ให้แยกใช้ห้องนอนและห้องน้ำกับคนในครอบครัว โดยห้องนอนควรมีลักษณะโปร่ง อากาศถ่ายเท และแสงแดดเข้าถึง 

(2) ตระเตรียมของใช้ส่วนตัว อาทิ เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และยารักษาโรคประจำตัว (ถ้ามี) ให้พร้อม รวมถึงแยกทำความสะอาดด้วย

(3) เตรียมอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 และอุปกรณ์ดูแลตัวเองเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นปรอทวัดไข้ สเปรย์แอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว และยาสามัญประจำบ้าน เป็นต้น

(4) ควรสำรองอาหารที่มีอายุการเก็บรักษาไว้ได้นานติดไว้บางส่วน อย่างเช่น อาหารแช่แข็ง หรืออาหารแห้ง 

(5) จัดหาอุปกรณ์ทำความสะอาด อย่างเช่น  ผงซักฟอก สบู่ น้ำยาล้างจาน  หรือน้ำยาฟอกขาว (ไฮเตอร์) รวมถึงถุงดำและถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อคัดแยกขยะติดเชื้อออกจากขยะทั่วไป

(6) เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำงาน เรียนออนไลน์ หรือให้ความบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ก หนังสือ เครื่องเล่นเกมพกพา หรือเสื่อโยคะ

 

ตอบข้อสงสัย ช่วงกักตัวเอง 14 วัน ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

แม้เราได้ยินคำว่า "มาตรการกักตัว 14 วัน" อยู่บ่อยครั้ง แต่มีหลายคนอาจไม่เข้าใจและไม่รู้ว่าควรปฏิบัติตัวเพื่อให้ปลอดภัยทั้งตัวเองและคนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องกักตัว 14 วันอยู่บ้านกับครอบครัว  ควรจัดสรรพื้นที่บ้านอย่างไรให้ทุกคนปลอดภัย มาดูกัน

(1) อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ถ้ามีอาการไอจาม ควรสวมหน้ากากอนามัยแม้อยู่ในห้องส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าไม่สามารถแยกห้องนอนได้ แนะนำให้ใช้แผ่นกั้นห้องแบบพลาสติกแบ่งสัดส่วน

(2) หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ส่วนรวม โดยผู้มีความเสี่ยงต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทั้งรักษาระยะห่างจากคนในครอบครัวอย่างน้อยที่สุด 1 เมตร ขณะที่คนในบ้านต้องสวมใส่หน้ากากด้วยเช่นกัน

(3) ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย แล้วปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ เพื่อลดการฟุ้งกระจายของไวรัส นอกจากนี้หลังใช้ห้องน้ำ ควรทำความสะอาดจุดเสี่ยงต่าง ๆ ทันที ไม่ว่าจะเป็นบริเวณโถส้วม อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ ลูกบิดประตู

(4) แยกสิ่งของส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น อาทิ จาน ชาม แก้วน้ำ เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์ 

(5) ไม่ทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ควรให้ผู้อื่นจัดหามาให้แล้วแยกมาทานคนเดียว แต่ถ้าต้องสั่งอาหารทานเอง ให้ผู้ส่งวางอาหารไว้ตรงจุดที่สะดวก เมื่อผู้ส่งกลับไปแล้วค่อยออกมานำอาหารเข้าบ้าน

(6) ควรล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่ทันที หลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ขณะไอ จาม หรือหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ ก่อนสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน อย่าง ลูกบิดประตู ราวบันได หรือประตูตู้เย็น เป็นต้น

(7) แยกทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวหรือบริเวณที่สัมผัส ดังนี้

  • เสื้อผ้า ชุดนอน หรือผ้าเช็ดตัว สามารถใช้ผงซักฟอกทำความสะอาดได้ตามปกติ หรือซักร่วมกับน้ำร้อนได้เช่นกัน
  • อุปกรณ์ที่ใช้เป็นประจำ อย่าง โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือคีย์บอร์ด ให้ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70-90% 
  • ห้องสุขา สุขภัณฑ์ และพื้นบ้าน ให้นำน้ำยาฟอกขาว5% มาผสมน้ำก่อน เช็ดถูทำความสะอาดบริเวณที่ต้องการ แต่ถ้าไม่มีน้ำยาฟอกขาว อาจเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดสูตรฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียแทน

(8) ให้แยกขยะติดเชื้อออกจากขยะทั่วไป โดยขยะที่มีสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย อย่าง หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู่ ให้ใส่ถุงขยะ 2 ชั้น แล้วราดด้วยสารฟอกขาว ก่อนปิดปากถุงให้สนิทและนำไปทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด พร้อมระบุว่าเป็นขยะติดเชื้อโดยเฉพาะเพื่อความระมัดระวังของคนเก็บขยะ จากนั้นให้ทำความสะอาดมือทันที

(9) ห้ามให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านระหว่างแยกตัวและงดการออกจากบ้านในระหว่างแยกตัว

(10) ให้เช็กอาการของตัวเองเป็นระยะ ๆ โดยวัดอุณหภูมิร่างกายว่าเกิน 37.5 องศาเซลเซียสหรือไม่

ผู้หญิงนั่งอ่านหนังสือ

การอ่านหนังสือ หนึ่งกิจกรรมที่น่าทำระหว่างกักตัวอยู่บ้าน

(11) ผู้ที่กักตัว 14 วัน ต้องงดกิจกรรมนอกบ้าน หยุดงาน หยุดเรียน งดใช้รถสาธารณะ

(12) บันทึกเบอร์โทรฉุกเฉินเกี่ยวกับโควิด-19 ลงในโทรศัพท์ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด จะได้สามารถประสานงานหรือติดต่อเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือได้ทัน อาทิ

  • 1669 - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ทั่วไทย) เมื่อเจอเหตุด่วนเหตุร้ายหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ
  • 1668 - กรมการแพทย์ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีเตียงรักษาและรับคำแนะนำการปฏิบัติตัว
  • 1330 - สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลบัตรทอง และประกันสังคม รวมถึงช่วยหาเตียงให้ผู้ป่วย การรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว 
  • 1111 - ศูนย์บริการข้อมูลสอบถามติดตามสถานการณ์โควิด-19 
  • 1422 - กรมควบคุมโรค ตรวจสอบสถานการณ์ของการระบาดโควิด-19 ในปัจจุบัน
  • 1323 – สายด่วนสุขภาพจิต

ระหว่างกักตัว 14 วัน สามารถออกไปข้างนอกได้ไหม

หากไม่มีความจำเป็นในช่วงกักตัว 14 วัน ควรอยู่แต่ในบ้านจนกว่าจะครบกำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น อย่างเช่น ออกไปซื้อของใช้ที่จำเป็น ไปพบแพทย์ตามนัดหมาย โดยต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกจากบ้าน พกเจลแอลกอฮอล์หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ไว้ทำความสะอาดมือ ทั้งไม่ควรอยู่ข้างนอกนานเกินไป เพราะถ้าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ยิ่งทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อกับผู้อื่นเพิ่มมากขึ้น และเมื่อกลับมาถึงบ้านให้รีบอาบน้ำทันที

เมื่อกักตัวครบเป็นเวลา 14 วัน ก็สามารถออกมาใช้พื้นที่ส่วนรวมกับสมาชิกภายในครอบครัวได้ตามปกติ แต่ยังคงต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเวลาออกไปข้างนอก ที่สำคัญอย่าลืมเปลี่ยนหน้ากากอนามัยเป็นประจำเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วย

และด้วยสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่กินระยะเวลายาวนานตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2562 มาจนถึงปัจจุบัน การมองหาหลักประกันความเสี่ยงเพื่อรับมือกรณีติดเชื้อโควิด-19 นอกเหนือจากกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพ อย่างการซื้อประกันภัยโควิดติดไว้สัก 1 กรมธรรม์ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี เช่น ประกันภัยไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ทูนประกันภัย VSafe Extra (แผน 1) รับเงินก้อนเมื่อตรวจพบ 5,000 บาท พร้อมคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากกรณีแพ้วัคซีน 30,000 บาท* ภาวะโคม่าผลกระทบจากการฉีดวัคซีน รับสูงสุด 1,000,000 บาท* ชดเชยรายได้จากการรักษา IPD จากกรณีแพ้วัคซีน 1,000 บาท/วัน (สูงสุด 14 วัน) กับค่าเบี้ย 799 บาท/ปี ส่วนใครที่ยังไม่ได้คิวฉีดวัคซีนโควิด-19 แนะนำให้เลือกทำประกันการโคม่าจากการแพ้วัคซีนโควิดด้วย เพราะทุกการเจ็บป่วยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งสิ้น หากอยากทำประกันภัยสุขภาพและประกันภัยโควิดดี ๆ สักตัว อย่าลืมนึกถึงฮักส์ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์ประกันภัยที่มีกรมธรรม์หลากหลายรูปแบบ และยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ซื้อที่สุด สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ, ไทยรู้สู้โควิด


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันวัคซีนโควิด

#ฮักส์ประกันภัยวัคซีน

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+