loading
ขาดรายได้จากการกักตัว เบิกประกันสังคมได้ไหม

ขาดรายได้จากการกักตัว เบิกประกันสังคมได้ไหม

เขียนเมื่อวันที่ 12/10/2021

ตอบข้อสงสัย กักตัวเพราะโควิด ประกันสังคมจ่ายไหม

สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างในระบบประกันสังคม ทั้งผู้ประกันตน มาตรา 33  มาตรา 39 และมาตรา 40 นอกจากได้รับการดูแลค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยฟรี สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน แล้วรู้หรือไม่ว่าผู้ประกันตนป่วยโควิด สามารถยื่นขอเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือเป็นหนึ่งในอาการเจ็บป่วยที่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเงินทดแทนการขาดรายได้ช่วงโควิด-19 แล้วใครมีสิทธิบ้าง ตาม Hugs Insurance ไปตรวจสอบกัน

เงินทดแทนประกันสังคม ใครมีสิทธิได้

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วย ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับแนวทางการดูแลใหม่ โดยให้ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวหรือกลุ่มที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยเข้ารับการรักษาแบบ Home Isolation กักตัวที่บ้านตามดุลยพินิจของแพทย์ ดังนั้นผู้ประกันตนที่ป่วยโรคโควิด-19 แล้วรักษาตัวด้วยวิธี Home Isolation รวมถึงผู้ที่ต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค สามารถยื่นติดต่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้เช่นเดียวกับผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

ผู้ประกันตน มาตรา 33 

สำหรับผู้ที่มีสิทธิขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามประกันสังคม มาตรา 33 คือบุคคลที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน (ส่งติดต่อกันหรือไม่ก็ได้) ก่อนมีอาการเจ็บป่วยและแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว

ผู้ประกันตน มาตรา 39 

เป็นบุคคลที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน โดยส่งติดต่อกันหรือไม่ก็ได้ ก่อนเดือนที่รับบริการทางการแพทย์ถึงมีสิทธิยื่นเรื่องขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ 

ผู้ประกันตน มาตรา 40 

คือผู้ที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่เจ็บป่วย เช่น หากป่วยโควิดและรักษาพยาบาลในเดือนกันยายน 2564 ย่อมมีมีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือน ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2564

คนงานกำลังสร้างตึก

เงินทดแทนขาดรายได้ สิทธิประโยชน์ที่คนทำงานควรรู้

เบิกเงินทดแทนขาดรายได้กรณีกักตัว ประกันสังคมได้เท่าไร 

ผู้ประกันตน มาตรา 33

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ขาดไร้รายได้จากการติดโควิดจนไม่สามารถทำงานได้ หรือต้องกักตัว 14 วัน เพื่อดูอาการเนื่องจากมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม ในอัตราร้อยละ 50 ตามฐานเงินเดือน (คิดตามเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท) โดยจ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน 1 ปีปฏิทิน แต่ไม่เกิน 180 วัน

ผู้ประกันตน มาตรา 39

สามารถเบิกเงินชดเชยได้ในกรณีมีนายจ้าง หรือมีงานสร้างรายได้อยู่เท่านั้น โดยเบิกได้อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างสูงสุด 4,800 บาทต่อเดือน เท่ากับจะได้วันละ 80 บาท (จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน)

ผู้ประกันตน มาตรา 40

เงินชดเชยรายได้ของผู้ประกันตน มาตรา 40 แบ่งตามเงินสมทบที่เลือกจ่ายในแต่ละเดือน ดังนี้

(1) มาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 (จ่าย 70 บาทต่อเดือน) และทางเลือกที่ 2 (จ่าย 100 บาทต่อเดือน)

  • กรณีเป็นผู้ป่วยในนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 300 บาท
  • กรณีไม่นอนโรงพยาบาล แต่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 200 บาท

โดยทั้ง 2 กรณี รวมกันแล้วจ่ายเงินทดแทนให้ไม่เกิน 30 วันต่อปี

(2) มาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 (จ่าย 150 บาทต่อเดือน)

  • กรณีเป็นผู้ป่วยในนอนโรงพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 300 บาท
  • กรณีไม่นอนโรงพยาบาล แต่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว 3 วันขึ้นไป ได้เงินทดแทนวันละ 200 บาท

ทั้งนี้ตามกรณีข้างต้น สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนให้ไม่เกิน 90 วันต่อปี

อย่างไรก็ดีผู้ประกันตนสามารถยื่นเบิกขาดรายได้ภายใน 2 ปี ดังนั้นเมื่อรักษาหายจากอาการเจ็บป่วยแล้ว และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกันสังคมกำหนด สามารถติดต่อขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่สำนักงานประกันสังคมได้ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนสำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอรับเงินทดแทนขาดรายได้ประกันสังคม ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ธนบัตร 1,000 บาท

เอกสารประกอบการขอรับเงินทดแทนขาดรายได้ 

สำหรับเอกสารที่ใช้ประกอบการขอเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีกักตัว 14 วันของผู้ประกันตน มาตรา 33 จากสำนักงานประกันสังคม ประกอบด้วย

(1) แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01 [https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/cdc1b0d290778fa63683b5c3ceeb46b4.pdf]

(2) บัตรประจำตัวประชาชน

(3) ใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่รักษา หรือบันทึกภาพหน้าจอจากแอปพลิเคชันไลน์หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสถานพยาบาลที่รับการรักษาผู้ประกันตนในสถานที่กักตัว หรือสถานที่ดูแลรักษา

(4) สำเนาเวชระเบียนที่ได้จากการบันทึกหน้าจอแอปพลิเคชันไลน์หรือโปรแกรมอื่น ๆ โดยต้องระบุวันที่เริ่มรักษา จนสิ้นสุดการรักษา รวมถึงการให้หยุดพักรักษาตัวต่อเพื่อใช้ประกอบการเบิกเงินค่าทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม

(5) หนังสือรับรองการใช้สิทธิลาป่วยจากนายจ้าง (สำหรับผู้ประกันตนที่มีนายจ้าง)

(6) หลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าแผงขายของ, ใบสั่งสินค้า, ใบรับสินค้า ฯลฯ (สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39 เพื่อแสดงว่ามีรายได้จากการประกอบอาชีพ)

(7) สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล)

(8) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่ของผู้ยื่นคำขอเบิกเงินทดแทนขาดรายได้

นอกจากประกันสังคมแล้ว ยังมีแผนประกันภัยต่าง ๆ ที่ให้ความคุ้มครองในกรณีขาดรายได้จากการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากอาการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือติดโควิด-19 ไม่ว่าประกันภัยสุขภาพ ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันภัยโควิด หรือประกันชดเชยรายได้ ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองและคนในครอบครัว ควรเลือกทำประกันภัยที่ครอบคลุมในส่วนของความคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายได้ เพื่อเสริมความอุ่นใจยามเจ็บป่วย อย่างประกันภัยสุขภาพ Owner Care ให้ความคุ้มครองทั้งการรักษา OPD และ IPD และชดเชยรายได้เมื่อต้องหยุดงาน ราคาเบี้ยเพียงเดือนละ 735 บาท/วัน แต่คุ้มครองสูงสุดถึง 1 ล้านบาท/ปี* หรือปรึกษาฮักส์ อินชัวรันซ์ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณผ่านช่องทาง Facebook Line และโทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ประกันโควิด

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+