loading
พ.ร.บ. รถยนต์ ขาดได้กี่วัน เกิดอุบัติเหตุประกันคุ้มครองไหม

พ.ร.บ. รถยนต์ ขาดได้กี่วัน เกิดอุบัติเหตุประกันคุ้มครองไหม

เขียนเมื่อวันที่ 08/02/2022

คนมีรถควรรู้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดประกันจ่ายไหม และขาดได้กี่วัน 

สำหรับคนมีรถยนต์นอกจากประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือที่รู้จักในชื่อของประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ และประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 ถือเป็นความคุ้มครองความเสี่ยงความเสียหายที่เกิดต่อตัวรถยนต์ รวมถึงทรัพย์สินและบุคคลภายนอก โดยขึ้นอยู่กับประเภทของกรมธรรม์ที่เลือก และยังมีในส่วนของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือพ.ร.บ. รถยนต์ สิ่งสำคัญที่รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องมี เนื่องด้วยเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จำเป็นต้องทำพ.ร.บ เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป รวมถึงตัวเจ้าของรถและบุคคลภายนอกหากได้รับความเสียหายแก่ชีวิตร่างกายเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์

โดยทางภาครัฐได้มีการออกกฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องมีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ. เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

  • คุ้มครองและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ
  • เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรักษาผู้ประสบภัย
  • ส่งเสริมให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัวจากอุบัติเหตุทางรถยนต์มากยิ่งขึ้น

ซึ่งรถยนต์ที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับคือ รถยนต์ทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก เช่นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถโดยสาร รถบรรทุก รถพ่วง หัวรถลากจูง เป็นต้น ซึ่งผู้มีหน้าที่ที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือพ.ร.บ. คือเจ้าของรถยนต์ผู้ที่ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ หากฝ่าฝืนหรือรถยนต์ไม่มีพ.ร.บ. ตามที่กฎหมายกำหนดจะมีโทษปรับไว้ไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับอัตราเบี้ย พ.ร.บ. รถยนต์เป็นการกำหนดอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว ซึ่งแยกตามประเภทของรถยนต์และลักษณะการใช้รถโดยรถยนต์ส่วนบุคคล​ไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราค่าพ.ร.บ. อยู่ที่ 600 บาทต่อปี

การ์ตูนรถยนต์และคน

พ.ร.บ. รถยนต์ขาด มีโทษปรับ

ถึงแม้พ.ร.บ. รถยนต์จะมีความสำคัญและเป็นกฎหมายบังคับของรถยนต์ทุกประเภท แต่ก็ยังมีหลายคนที่มีข้อสงสัยว่าหากพ.ร.บ. รถยนต์ขาด สามารถขาดได้กี่วัน ผิดกฎหมายหรือไม่ และหากเกิดอุบัติเหตุจะได้รับความคุ้มครองไหม HUGS Insurance มีคำตอบมาฝากกัน

พ.ร. บ. รถยนต์ขาดได้กี่วัน 

ประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดว่ารถยนต์ทุกคันต้องทำพ.ร.บ. ดังนั้น จึงไม่สามารถปล่อยให้พ.ร.บ. ขาดได้เลยแม้แต่วันเดียว เพราะจะหมายความว่าหากรถยนต์ที่ขาดพ.ร.บ. และมีการนำไปใช้วิ่งบนท้องถนนจะถือว่ากระทำผิดกฎหมายทันที และมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

พ.ร.บ. รถยนต์ขาดเกิดอุบัติเหตุ ประกันคุ้มครองไหม

สำหรับรถยนต์ที่พ.ร.บ. ขาดแต่มีประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจอย่างประกันภัยชั้น 1 หรือชั้นอื่น ๆ สามารถเคลมกับบริษัทประกันได้ตามปกติ แต่จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ. รถยนต์เลย โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นฝ่ายผิ สำหรับรถยนต์ผู้เสียหายหรือคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูกยังสามารถเรียกรับเงินจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถได้ตามปกติ ทางด้านกองทุนจะมาไล่เบี้ยและเรียกเก็บเงินจากเจ้าของรถยนต์อีกครั้ง ซึ่งหากพบว่ารถยนต์ขาดพ.ร.บ. ก็จะทำให้โดนโทษปรับได้เช่นเดียวกัน นอกจากจะโดนโทษปรับแล้วการที่รถยนต์ไม่มีพ.ร.บ. ทำให้ไม่สามารถยื่นขอต่อภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้ หากปล่อยไว้เกิน 3 ปี ทะเบียนรถยนต์จะถูกระงับและจะถูกเรียกค่าปรับอีกด้วย

พ.ร.บ. รถยนต์ถือเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่มีความจำเป็นต่อรถยนต์ทุกคัน เพราะถือว่าเป็นความคุ้มครองเบื้องต้นให้แก่บุคคลทั่วไป และตัวเจ้าของรถหากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์แบบไม่คาดฝัน นอกจากนี้ควรวางแผนความคุ้มครองให้แก่ตัวคุณและรถยนต์ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ด้วยการเลือกทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งมีให้เลือกทั้งความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ และประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 ขึ้นอยู่กับความต้องการในเรื่องของความคุ้มครองและการใช้งานรถยนต์ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเช็คค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์เพื่อให้ได้ประกันภัยเหมาะสมในแบบที่คุณต้องการ รวมถึงการเลือกทำประกันภัยอะไหล่รถยนต์ที่คุ้มครองอะไหล่รถทุกรูปแบบ ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หลากหลายยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ในการขับขี่และใช้งานติดต่อได้ผ่านช่องทาง Facebook: HUGS Insurance หรือทางช่องทางไลน์ @hugsinsurance หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, OIC 


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องรถยนต์ให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันรถยนต์

#ฮักส์ประกันภัยรถยนต์

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+