loading
หวั่นมาไทย โควิดสายพันธุ์มิว อันตรายระลอกใหม่ที่ต้องระวัง

หวั่นมาไทย โควิดสายพันธุ์มิว อันตรายระลอกใหม่ที่ต้องระวัง

เขียนเมื่อวันที่ 07/10/2021

รู้จักโควิดสายพันธุ์มิว ความอันตรายครั้งใหม่ที่ทั่วโลกต้องเฝ้าระวัง 

โควิด-19 เป็นโรคระบาดที่กินระยะเวลาการระบาดเกือบ 2 ปี และยังคงมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการกลายพันธุ์ของไวรัสส่งผลต่อวัคซีนและความรวดเร็วในการแพร่ระบาด ทำให้บางครั้งอาจส่งผลให้วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม เพราะไวรัสมีอาการดื้อยาในวัคซีนที่ฉีด

สาเหตุการกลายพันธุ์ของไวรัส

เชื้อไวรัสทุกชนิดเมื่ออุบัติขึ้นบนโลกจะมีการกลายพันธุ์เสมอเพื่อเอาตัวรอด โดยไวรัสที่กลายพันธุ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของมนุษย์ จึงทำให้วัคซีนบางชนิดด้อยประสิทธิภาพลง และไวรัสกลายพันธุ์ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการแพร่กระจายเชื้ออีกด้วย ทำให้มีผู้ติดเชื้อครั้งละมาก ๆ ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดตารางสายพันธุ์ของโควิด จำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

Variants of Concerns (VOC)

ประเภทแรกเป็นการกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง คือ สายพันธุ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็ว ยากต่อการควบคุม และทำให้วัคซีนลดทอนประสิทธิภาพ วัคซีนบางตัวอาจะไม่สามารถป้องกันการกลายพันธุ์ของไวรัสกลุ่มนี้ได้ ประกอบด้วยด้วยไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้

  • สายพันธุ์เดลตา - พบการติดเชื้อครั้งแรกในอินเดีย
  • สายพันธุ์เบตา - พบกาติดเชื้อครั้งแรกในแอฟริกาใต้
  • สายพันธุ์แกมมา - พบการติดเชื้อครั้งแรกในบราซิล
  • สายพันธุ์อัลฟา - พบการติดเชื้อครั้งแรกในอังกฤษ

Variant of Interest (VOI)

ประเภทที่ 2 คือการกลายพันธุ์ที่กำลังจับตามอง โดยการกลายพันธุ์ประเภทนี้จะยังคงมีทีท่าไม่แน่ชัด ไวรัสอาจกลายพันุ์ต่อเนื่องจนกลายเป็นประเภท VOC หรืออาจเพียงกลายพันธุ์เล็กน้อยที่ยังสามารถควบคุมได้ มีดังนี้

  • สายพันธุ์เอตา - พบการติดเชื้อครั้งแรกในยุโรปและแอฟริกา
  • สายพันธุ์ไอโอตา – พบการติดเชื้อครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา
  • สายพันธุ์แคปตา - พบการติดเชื้อครั้งแรกในอินเดีย
  • สายพันธุ์แลมบ์ดา – พบการติดเชื้อครั้งแรกในเปรู
  • สายพันธุ์มิว – พบการติดเชื้อครั้งแรกในโคลัมเบีย

การกลายพันธุ์ของโควิดเข้าสู่สายพันธุ์มิวยังคงมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปถึงอันตรายของการกลายพันธุ์ในครั้งนี้ แต่จากข้อมูลที่มียังคงพบว่าสายพันธุ์ไม่มีความอันตรายเท่าสายพันธุ์เดลตาอย่างแน่นอน แต่เพื่อความปลอดภัยและอุ่นใจ ควรมีประกันภัยโควิดติดตัวไว้

ข้อมูลของไวรัสโควิดสายพันธุ์มิว

corona virus

การกลายพันธุ์สู่สายพันธุ์มิวเกิดจากการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม

สายพันธุ์ของไวรัสโคโรนามีการกลายพันธุ์มาหลายต่อหลายครั้ง และทุกครั้งก็มักจะเกิดการระบาดระลอกใหม่ในประเทศ เช่นเดียวกับโควิดสายพันธุ์มิวที่ได้รับการประกาศว่าเป็นสายพันธุ์หลักสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่เชื้อในประเทศโคลัมเบียมีรหัสสายพันธุ์ว่า  B.1.621 โดยลักษณะการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสมิวมีดังนี้

  • การแพร่เชื้อรวดเร็วเหมือนสายพันธุ์อัลฟา

รหัสพันธุกรรมที่พบ P681H เป็นรหัสเดียวกับที่พบในสายพันธุ์อัลฟาและเป็นรหัสที่ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อเป็นไปอย่างรวดเร็ว สายพันธุ์มิวจึงสามารถแพร่เชื้อโควิดได้อย่างรวดเร็ว

  • การหลบหลีกประสิทธิภาพวัคซีนเหมือนสายพันธุ์เบตา

สายพันธุ์เบตามีประสิทธิภาพในการต้านภูมิคุ้มกันบางส่วนในร่างกายมนุษย์ ทำให้วัคซีนเสื่อมประสิทธิภาพลงด้วยการกลายพันธุ์รหัส E484K และ K417N ซึ่งเป็นรหัสเดียวกันกับที่พบในสายพันธุ์มิวเช่นกัน

  • การกลายพันธุ์อื่น ๆ ของไวรัสสายพันธุ์มิว

นอกจากรหัสพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกับไวรัสสายพันธุ์อัลฟาและเบตาแล้ว โควิดสายพันธุ์มิวยังมีรหัสพันธุใหม่ 2 ตัว ได้แก่ R346K และ Y144T ที่ยังคงยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดถึงความอันตราย แต่อัตราส่วนการแพร่ระบาดและการเสียชีวิตยังคงอยู่ในสัดส่วนที่ไม่น่าเป็นห่วง การคาดการณ์เบื้องต้นจึงยังไม่จัดสายพันธุ์มิวให้อยู่ในสายพันธุ์อันตราย

ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์มิวกระจายอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับประเทศหลังจากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงมา ประเทศไทยเองก็กำลังจับตามองไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้อยู่เช่นกัน แต่ยังไม่พบผู้ป่วยในประเทศที่ติดเชื้อสายพันธุ์มิว (ข้อมูลวันที่ 23 กันยายน 2564)

การรู้จักป้องกันตนเอง ปฎิบัติตามคำแนะนำในสถานการณ์โควิดระบาดอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อโควิดลงไปได้ นอกจากนี้ยังอาจพิจารณาทำประกันภัยโควิดเอาไว้ เพื่อเป็นตัวช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายหากติดเชื้อขึ้นมา ประกันภัยที่น่าสนใจ เช่น ทูนประกันภัย Vsafe Extra (แผน 1) ที่รับเงินก้อนเมื่อตรวจพบ 5,000 บาท พร้อมพ่วงค่ารักษากรณีแพ้วัคซีนโควิดอีกสูงสุด 30,000 บาท/ครั้ง* ตอบทุกโจทย์คนกังวลเรื่องโควิด ทั้งเรื่องโรคและวัคซีนโควิด หรือสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยโควิดอื่น ๆ กับฮักส์ได้โดยตรงทั้งทาง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล: ไทยรัฐ, Post Today, The Standard


#HUGS

#LifeALife LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+