loading
เงื่อนไขการเคลมประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง

เงื่อนไขการเคลมประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง

เขียนเมื่อวันที่ 09/07/2021

อาการแพ้วัคซีนโควิด-19 แบบไหน แจ้งเคลมได้

สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในบ้านเรายังไม่น่าไว้วางใจ หลังมียอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศทะลุหลักพันติดต่อกันนานหลายสัปดาห์ ทั้งมีการตรวจพบโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ ในการระบาดระลอกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโควิดสายพันธุ์เดลตา (สายพันธุ์อินเดีย), โควิดสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) และโควิดสายพันธุ์เบตา (สายพันธุ์แอฟริกาใต้) แม้มีคนไทยบางส่วนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปบ้างแล้วก็ตาม ซึ่งจากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564 พบว่า มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 7,587,178 โดส โดยมีผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 5,486,092 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 2,101,086 ราย 

แม้วัคซีนโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งความหวังในการสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการแพร่กระจายของเชื้อ และเสียชีวิตจากโควิด-19 แต่ถ้าใครได้ติดตามข่าวการแพ้วัคซีนทั้งในและต่างประเทศอาจเกิดความกังวลว่า ตนหรือคนในครอบครัวที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะมีอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนที่เกิดขึ้น ทำให้หลายคนวางแผนรับมือกับความเสี่ยงนี้ด้วยการซื้อประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 ติดไว้เพื่อความอุ่นใจ อย่างไรดี อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน ไม่ได้หมายความว่า "แพ้วัคซีนโควิด" ทั้งหมด บางอาการเป็นเพียงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นตามปกติเท่านั้น แล้วลักษณะการแพ้วัคซีนโควิดแบบไหนที่สามารถเคลมประกันได้ มาดูกันเลย

ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 คุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 ให้ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก เมื่อได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หรืออาจห้เงินชดเชยกรณีเจ็บป่วยภาวะโคม่าจากการฉีดวัคซีน แต่ทั้งนี้การเลือกทำประกันภัยแพ้วัคซีน COVID-19 ควรพิจารณาแผนความคุ้มครองของแต่ละบริษัทประกันภัยอย่างละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากแต่ละบริษัทมีเงื่อนไขแตกต่างกัน อาทิ

  • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในจ่ายตามจริง ไม่เกินจำนวนที่กำหนด
  • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก 
  • การเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า
  • เงินชดเชยรายได้เมื่อนอนโรงพยาบาล
  • เงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลกรณีติดเชื้อโควิด-19 หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 
  • เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุ เนื่องจากมีประกันแพ้วัคซีนโควิดบางแผนที่ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ (อบ.1) ฯลฯ 

อาการแพ้วัคซีนโควิด-19 แบบไหน ที่บริษัทประกันภัยคุ้มครอง

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ระบุอาการไม่พึงประสงค์สามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากร่างกายกำลังตอบสนองต่อวัคซีน มีดังนี้

(1) อาการที่สามารถคาดเดาได้

  • ปวด บวม แดงร้อน บริเวณที่ฉีด สามารถใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบช่วยบรรเทาอาการได้
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ สามารถกินยาลดไข้ได้ตามปกติ

(2) อาการที่แสดงว่าแพ้วัคซีน

อาการแพ้วัคซีนโควิด-19 รุนแรง มักพบได้ภายใน 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน แต่บางคนอาจเกิดอาการหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้วสักพักหนึ่ง โดยอาการที่แสดออกงแตกต่างกันไป อาทิ

  • มีไข้สูง 
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • ใจสั่น หนาวสั่น
  • หอบเหนื่อย 
  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก 
  • มีจุดเลือดออกจำนวนมาก 
  • มีผื่นขึ้นคล้ายลมพิษ หรือเป็นตุ่มน้ำพอง
  • มีอาการบวม เช่น หน้าบวม คอบวม ปากบวม
  • อาเจียนไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง หรือท้องเสีย
  • ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง
  • ตามัวเห็นภาพซ้อน
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง แขน ขาชา
  • ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
  • ชักหมดสติ
  • ปวดท้องหรือปวดหลังรุนแรง
 

ฉะนั้นภายหลังได้รับวัคซีน COVID-19  ควรสังเกตอาการประมาณ 30 นาที ในสถานพยาบาลที่รับการฉีด หากมีอาการแพ้เกิดขึ้นจะได้รับการรักษาทันที อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ต้องสังเกตอาการ 24 ชั่วโมงแรกหลังการฉีด แล้วควรสังเกตอาการหลังจากนั้น 7 วัน และอีกครั้งหลังจาก 30 วัน พร้อมบันทึกความผิดปกติทุกอย่างที่พบผ่านทางแอปพลิเคชันหมอพร้อม

หมอดึง​ยาจากหลอดวัคซีนโควิด-19

วิธีสังเกตอาการข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

ฉีดวัคซีนแล้วแพ้ ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 คุ้มครองทุกยี่ห้อไหม

ใครที่กังวลว่าเงื่อนไขการเคลมประกันภัยแพ้วัคซีนไม่ครอบคลุมวัคซีนบางชนิด ขอบอกว่าประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 คุ้มครองทุกยี่ห้อ เพราะอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า “วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองหรือการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ถ้าผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าอาการแพ้นั้นเกิดจากวัคซีนโควิด-19 กรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองทันที"

ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 ที่ไหนดี

สำหรับคนที่มีประกันภัยโควิดที่ให้ความคุ้มครองกรณีแพ้วัคซีนอยู่ อาจไม่จำเป็นต้องซื้อประกันภัยวัคซีนโควิดเพิ่มอีก ยกเว้นต้องการรับความคุ้มครองเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันมีแผนประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด เบี้ยประกันภัยราคาไม่แพงให้เลือกซื้อเพิ่มเติม อาทิ

ทิพยประกันภัย แผน 1V 

กรมธรรม์ประกันภัยที่ให้การคุ้มครองภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน COVID-19 เป็นระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่ได้รับการฉีดวัคซีน ในราคาเริ่มต้นเพียง 70 บาท/ปี คุ้มครองจัดเต็มสูงสุด 1,000,000 บาท โดยแบ่งความคุ้มครอง ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในกรณีแพ้วัคซีนโควิด 50,000 บาท 
  • กรณีโคม่าจากการแพ้วัคซีนโควิด 500,000 บาท

กรุงเทพประกันภัย

ประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 ของกรุงเทพประกันภัย ให้ความคุ้มครองสูงสุด 1,000,000 บาท โดยจ่ายเบี้ยเริ่มต้นเพียง 99 บาท/ปี รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นผู้ป่วยใน เงินปลอบขวัญเมื่อนอนโรงพยาบาลเกินกว่า 5 วัน เงินชดเชยเมื่อเจ็บป่วยภาวะโคม่า และคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

สุดท้ายใครที่กังวลเรื่องการแพ้วัคซีน แต่ไม่ว่าควรเลือกทำประกันภัยแพ้วัคซีนโควิดแบบไหน เพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมรอบด้าน ฮักส์มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยโควิด-19 และแพ้วัคซีนโควิด ให้คุณสามารถเลือกทำประกันภัยที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ฮักส์ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+