loading
สัญญาณเตือนอาการโรคซึมเศร้า อันตรายที่คาดไม่ถึง

สัญญาณเตือนอาการโรคซึมเศร้า อันตรายที่คาดไม่ถึง

เขียนเมื่อวันที่ 26/07/2021

รักตัวเองให้เป็น ก้าวแรกของการเอาชนะโรคซึมเศร้า

อาการป่วยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ โรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใต้สำนึก จัดอยู่ในโรคทางจิตเภทชนิดหนึ่ง โดยมีจิตแพทย์ที่มีบทบาทในการเยียวยาผู้ป่วย 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าสามารถเกิดได้กับทุกคนจากหลากหลายสาเหตุที่เข้ามากระตุ้น โดยโรคซึมเศร้าเกิดจากสาเหตุหลัก มีดังนี้

  • กรรมพันธุ์

โรคซึมเศร้าสามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ โดยภาวะซึมเศร้าในขณะตั้งครรภ์จะสามารถส่งผ่านถึงลูกได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการซึมเศร้าบ่อยครั้ง แบบเป็น ๆ หาย ๆ จะถ่ายทอดความรู้สึกไม่มั่นคงไปยังทารกในครรภ์ ลูกจึงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

  • สภาพแวดล้อม

การเลี้ยงดูและสภาพสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สาเหตุหลัก ๆ จะมาจากการถูกกดดันและคาดหวังมากจนเกินไป ความเครียดสะสมที่ไม่สามารถหาทางออกได้ ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ สภาพแวดล้อมที่บีบคั้นเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าจนพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด

  • สารเคมีในสมอง

สารเคมีที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้ามี 2 ชนิด คือ เซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ซึ่งหากสารเคมีทั้ง 2 ชนิดลดต่ำลง จะทำให้ความสมดุลทางอารมณ์หายไป เกิดอาการวิตกกังวล มองโลกในแง่ร้าย รวมถึงอยากทำร้ายตัวเอง 

อาการของโรคซึมเศร้า

ผู้หญิงก้มหน้าร้องไห้

โรคซึมเศร้าส่งผลต่อความรู้สึกโดยตรง

โรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นโรคที่มีอาการเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะค่อย ๆ แสดงอาการของภาวะซึมเศร้าออกมา หากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มโอกาสที่จะหายก็มีมาก  โรคซึมเศร้าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว
  2. โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับฉุนเฉียว เรียกอีกอย่างว่าไบโพลาร์

ก่อนที่จะเกิดเป็นโรคซึมเศร้าทั้งแบบขั้วเดียวและสองขั้วล้วนมีอาการเบื้องต้นมาก่อนเสมอ จึงควรสังเกตความผิดปกติทางด้านอารมณ์และความคิดของตนเอง ดังนี้

  • มีอารมณ์ซึมเศร้าติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวัน โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจจะเริ่มต้นจากการมีอารมณ์ฉุนเฉียวก่อน เพื่อซ่อนความเศร้าภายในจิตใจ
  • เกิดความเบื่อหน่ายในกิจกรรมที่เคยทำแล้วสนุก ส่วนมากมักจะหาสาเหตุของความเบื่อไม่ได้ เพียงเกิดความรู้สึกเบื่อและไม่อยากจะทำกิจกรรมนั้นอีกแล้ว
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน ไม่ว่าจะเป็นนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ การอดนอนเพื่อทำงาน คุณภาพการนอนแย่ส่งผลต่อสุขภาพจิตได้
  • รู้สึกหมดแรง ไม่มีพลังงานในการทำสิ่งใด เกิดอาการเหนื่อยง่าย เพราะร่างกายหลั่งสารกระตุ้นความตื่นเต้นออกมาน้อย จึงไม่สนุกกับสิ่งที่พบเจอในชีวิตประจำวันนมากนัก
  • รับประทานอาหารมากหรือน้อยจนเกินไป พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม อาจมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย แต่บางคนก็อาจกินมากผิดปกติก็ได้ นอกจากจะเป็นอาการของโรคซึมเศร้าแล้วยังเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะอาหารด้วย
  • รู้สึกไร้ค่า อยากหลีกหนีจากชีวิตของตัวเอง มีควมพยายามจะฆ่าตัวตายหรือมีความคิดที่อยากฆ่าตัวตาย เพราะไม่มีความสุขกับชีวิตที่เป็นอยู่
  • ไม่มีสมาธิ มีความเฉื่อยชา เพราะกระบวนการคิดและวิเคราะห์ทำงานช้าลง การตอบสนองต่าง ๆ จึงช้าลงด้วย มีความกระวนกระวาย ไม่กล้าตัดสินใจอะไรเด็ดขาด

จุดเริ่มต้นจะเริ่มจากการมีภาวะซึมเศร้าจากอาการข้างต้น นอกจากจะส่งผลต่อตนเองยังส่งผลให้คนรอบข้างเกิดความวิตกกังวลตามไปด้วย จึงควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมตนเองเสมอ หากพบว่ามีอาการที่ใกล้เคียงกับโรคซึมเศร้าหลายข้อ ควรรีบหาแนวทางรักษา

 

แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

การรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายระดับ โดยในช่วงเริ่มต้นของการมีภาวะซึมเศร้า ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

  • คุยกับคนรอบข้าง ระบายความในใจ ปัญหาต่าง ๆ ให้มากที่สุด และควรเลือกคนที่ไว้ใจได้ สบายใจที่จะคุยด้วย
  • หากิจกรรมทำยามว่าง ลดความฟุ้งซ่าน หากเป็นไปได้ควรค้นหากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุขให้เจอ เช่น วาดภาพ ทำอาหาร
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะการออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟินที่ทำให้มีความสุข ลดความเครียด
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด รวมถึงบุหรี่ เพราะจะทำให้ภาวะซึมเศร้ารุนแรงมากยิ่งขึ้น 
  • เรียนรู้ปรัชญา ทำความเข้าใจชีวิต และมองภาวะอารมณ์ซึมเศร้าของมนุษย์เป็นเรื่องปกติ  

นอกจากนี้ยังมีการทดสอบโรคซึมเศร้า เป็นบททดสอบที่เรียกว่า “แบบสอบถามภาวะอารมณ์เศร้า (Patient Health Questionnaire: PHQ9)” เป็นแบบทดสอบที่วัดระดับความรุนแรงของโรคซึมเศร้า เพื่อวินิจฉัยแนวทางการรักษา และประเมินผู้ป่วยโรคซึมเศร้าว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ 

โรคซึมเศร้ามีวิธีการรักษาที่เป็นแบบแผนและมีแพทย์เฉพาะทางให้คำปรึกษา เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเกี่ยวข้องกับความคิดและความรู้สึกโดยตรง ในการเข้ารับการรักษาแต่ละครั้งมักจะตามมาด้วยค่าใช้จ่าย ซึ่งโรคซึมเศร้าประกันภัยสุขภาพมักจะไม่รับทำ เพราะค่าใช้จ่ายต่อครั้งค่อนข้างสูง จึงอาจเลือกทำประกันภัยสุขภาพแบบเหมาจ่ายหรือประกันภัยสุขภาพที่คุ้มครองโรคนี้โดยเฉพาะ สามารถปรึกษาฮักส์เพื่อหาประกันภัยที่ใช่ได้หลากหลายช่องทางทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855


#HUGS

#LifeALife LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+