loading
5 โรคทางพันธุกรรมถ่ายทอดสู่รุ่นลูก มีอะไรบ้าง

5 โรคทางพันธุกรรมถ่ายทอดสู่รุ่นลูก มีอะไรบ้าง

เขียนเมื่อวันที่ 15/06/2021

โรคประจำตัวจากพ่อแม่สู่ลูกที่ต้องระวัง

ทุกวันนี้ปัญหาสุขภาพไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ต่อให้รักษาสุขภาพดีมากเพียงใดก็มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคร้ายแรง อย่างโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง ไตวาย หรือโรคเบาหวานได้เช่นกัน นอกจากนี้บางโรคร้ายสามารถสืบทอดผ่านทางพันธุกรรม แล้วมีโรคอะไรบ้าง? ที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกน้อยได้ มีแนวทางป้องกันหรือไม่ มาดูกันเลย

โรคทางพันธุกรรมมักจะติดต่อผ่านแม่สู่ลูก ก่อนการตั้งครรภ์จึงควรมีการตรวจโรคก่อน เพราะบางโรคสามารถพัฒนาไปเป็นโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคมะเร็งบางชนิด การติดต่อโรคทางพันธุกรรมเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง จึงต้องมีการป้องกันความเสี่ยงอย่างรัดกุม ทั้งการฉีดวัคซีนป้องกัน การหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อการรักษาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ในกรณีที่ตรวจพบโรค นอกจากนั้นยังควรมีการสอบประวัติสมาชิกในครอบครัว หากพบโรคที่สามารถติดต่อทางกรรมพันธุ์ได้จะได้เฝ้าระวัง

โรคทางพันธุกรรม คืออะไร

โรคทางพันธุกรรม (Genetic Disorders) หรือโรคติดต่อทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีนในพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นบนโครโมโซมที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อและแม่ที่เป็นพาหะมาสู่รุ่นลูก โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันได้ และจะตรวจพบความผิดปกติเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว แม้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่ถ้ารีบดำเนินการรักษา ก็ช่วยให้ทารกมีโอกาสเติบโตได้อย่างปกติ หากได้รับการรักษาล่าช้ามีโอกาสที่ทารกจะพิการ หรือเสียชีวิตได้เช่นกัน

โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีอะไรบ้าง

1. โรคธาลัสซีเมีย

เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่เกิดจากเม็ดเลือดผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ โดยโรคธาลัสซีเมียเกิดขึ้นในกรณีที่พ่อและแม่ต่างมียีนแฝงธาลัสซีเมียทั้งคู่ ทำให้ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะและส่งต่อยีนนี้ไปสู่รุ่นถัดไป ในปัจจุบันเรียกว่าธาลัสซีเมียแฝง

วิธีป้องกันโรคธาลัสซีเมีย

เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการส่งต่อโรคธาลัสซีเมียไปสู่ลูก ก่อนวางแผนแต่งงานหรือวางแผนมีลูก ควรไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลว่าเป็นธาลัสซีเมียแบบแฝงหรือไม่

2. โรคฮีโมฟีเลีย

เป็นโรคเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก เกิดจากความผิดปกติบนโครโมโซม x ส่งผลต่อปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ทำให้ผู้ที่ป่วยด้วยโรคฮีโมฟีเลียเมื่อได้รับบาดเจ็บจะมีเลือดออกนานกว่าคนปกติทั่วไป เนื่องจากเลือดไม่แข็งตัวอย่างที่ควรจะเป็น แม้ตอนนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโรคฮีโมฟีเลีย แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เพียงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลตัวเองไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ และถ้ามีเลือดออกควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

วิธีป้องกันโรคฮีโมฟีเลีย

หากพบว่าคนในครอบครัวมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคฮีโมฟีเลีย ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมก่อนวางแผนมีบุตร เพื่อลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดยีนผิดปกติสู่ลูก นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยโรคระหว่างตั้งครรภ์ โดยการตรวจเลือดและเนื้อเยื่อเพื่อหายีนที่บกพร่องทางพันธุกรรม หรือยีนที่กลายพันธุ์

3. ตาบอดสี

เป็นภาวะผิดปกติในการมองเห็นสีบางสีไม่ชัดเจนหรือผิดเพี้ยนไป ทำให้ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีเขียว สีแดง สีเหลือง และสีส้มได้ โดยตาบอดสีมีอาการแตกต่างกันออกไปตามชนิดของตาบอดสีที่เป็น ฉะนั้นควรสังเกตความผิดปกติของลูกตั้งแต่เล็ก ๆ ว่าสามารถจดจำและแยกสีต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องหรือไม่เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น เพราะถ้ามีอาการตาบอดสีจะได้วางแผนการเรียน การใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับตัวเด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ แม้ไม่อาจรักษาอาการตาบอดสีได้ แต่ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเพียงสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ที่ทำขึ้นมาเพื่อคนตาบอดสีโดยเฉพาะ

4. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย

เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูกที่สร้างเม็ดเลือดขาวออกมามากผิดปกติ จนไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติชนิดอื่น ๆ ของไขกระดูก ส่งผลให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดลดลง ไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคในร่างกาย รวมถึงช่วยกำจัดสารพิษและของเสียบางชนิด ทำให้ผู้ที่เป็นโรคลูคีเมียมีอาการป่วยได้ง่าย

5. โรคเบาหวาน

เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด

เจาะเลือดเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือด 

เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และถ้าไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างอาการต้อกระจกจากเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไตวาย หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

วิธีป้องกันโรคเบาหวาน

แม้โรคเบาหวานเป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ถ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร โดยเลี่ยงทานอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และมันจัด รวมถึงงดดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน

ปัจจุบันโรคทางพันธุกรรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมติดตัวลูกของคุณไปตลอดชีวิต ฉะนั้นสิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้ คือ การตรวจสุขภาพและตรวจโรคทางพันธุกรรมตั้งแต่ก่อนแต่งงาน หรือช่วงที่วางแผนมีลูก เพื่อลดความเสี่ยงในการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมสู่ลูก เพราะถ้าตรวจพบความผิดปกติครอบครัวสามารถวางแผนรักษาหรือหาวิธีดูแลได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

นอกจากนี้การตรวจสุขภาพความพร้อมของร่างกายตัวเองก่อนซื้อประกันภัยสุขภาพหรือประกันภัยโรคร้ายแรงเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินสำหรับการรักษาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต วันนี้ฮักส์มีประกันภัยแนะนำประกันสุขภาพสุขใจรักษ์คุ้มครองเหมาจ่ายต่อครั้งต่อโรคสูงสุด 1,200,000 บาทต่อปี ไม่ต้องสำรองจ่ายทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย สำหรับใครที่สนใจปรึกษาเรื่องประกันภัยสุขภาพ ฮักส์ยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยสุขภาพที่เหมาะกับคุณมากที่สุด พร้อมเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และเบี้ยประกันภัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยงานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

เลือกประกันภัยสุขภาพที่ใช่ อุ่นใจเมื่อต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล...คลิก

 


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ฮักส์ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+