loading
ปวดปัสสาวะบ่อย ปัญหาสุขภาพกำลังมาเยือน

ปวดปัสสาวะบ่อย ปัญหาสุขภาพกำลังมาเยือน

เขียนเมื่อวันที่ 12/07/2021

ปัสสาวะบ่อย สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ

อาการปวดปัสสาวะบ่อย เป็นอาการที่เกิดจากทานอาหารหรือน้ำที่กินมากไป แต่บางครั้งอาการเล็กน้อยเช่นนี้ก็ส่อถึงโรคอันตรายมากมายที่คุณคาดไม่ถึงได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ปัสสาวะบ่อยมากในช่วงทั้งที่ไม่ได้ดื่มน้ำมากไป ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุการปวดปัสสาวะบ่อย

ปวดปัสสาวะบ่อยแค่ไหน ถึงเรียกว่าผิดปกติ

โดยปกติภายใน 24 ชั่วโมง คนเราปวดปัสสาวะประมาณ 3-5 ครั้งในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นเวลาที่ดื่มน้ำมาก หรือคาเฟอีนมากเกินไป แตกต่างจากช่วงกลางคืนที่ปัสสาวะเพียง 1-2 ครั้ง แต่ถ้าช่วงกลางคืนลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยครั้งกว่าที่กล่าวไป นอกจากเป็นเพราะดื่มน้ำมาก หรือดื่มน้ำใกล้กับเวลาเข้านอนแล้ว อาการปัสสาวะบ่อยอาจบ่งชี้ถึงโรคบางอย่างที่ซ่อนอยู่ ควรพูดคุยขอคำปรึกษาจากแพทโดยตรงเพื่อหาสาเหตุ

ปวดปัสสาวะบ่อย สัญญาณเตือนร่างกายกำลังป่วยเป็นอะไร

  1. โรคเบาหวาน

ปัสสาวะบ่อยเกิดจากการมีน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้จึงพยายามกำจัดน้ำตาลส่วนเกินออกไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ 

  1. กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป ทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยแม้มีปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเพียงเล็กน้อย แต่ก็ปวดมากจนกลั้นไม่ค่อยไหว ความถี่ของการลุกเข้าห้องน้ำอยู่ที่ประมาณทุกหนึ่งชั่วโมง จนรบกวนการนอนหลับพักผ่อนตอนกลางคืน ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ

  1. โรคไต

อาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืนอาจมีสาเหตุมาจากภาวะไตทำงานผิดปกติ เนื่องจากไตไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายได้ดีเช่นเดิม ส่งผลให้น้ำถูกขับออกจากร่างกายมากกว่าปกติ

  1. โรคนิ่วในไตหรือติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ

การมีก้อนเนื้อหรือนิ่วขนาดใหญ่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะปัสสาวะหรือใกล้เคียง ทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกก้อนเนื้อเบียดจนปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะเร็วขึ้น ไม่แปลกที่จะปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

  1. โรคเบาจืด

เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่ควบคุมน้ำในร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการกระหายน้ำผิดปกติแม้ดื่มน้ำเข้าไปปริมาณมากแล้วก็ตาม ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ปัสสาวะบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น

 

  1. โรคต่อมลูกหมากโต

เป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติจนไปกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโตยังเป็นสาเหตุให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น ส่งผลให้กักเก็บน้ำปัสสาวะได้ลดลง ไม่แปลกที่ผู้ป่วยปวดปัสสาวะบ่อยผิดปกติ

  1. โรคหลอดเลือดสมอง

โรคที่ส่งผลต่อเส้นประสาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของกระเพาะปัสสาวะอย่างโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยปวดปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะแบบฉับพลัน เพราะไม่สามารถอั้นได้ เนื่องจากเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ​เสียหายจากโรคที่เป็นอยู่

  1. การเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ

ภาวะนี้มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุหรือวัยกลางคนที่ทำงานหนัก เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเสื่อมประสิทธิภาพ ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดรัดตัว และส่งผลให้ความยืดหยุ่นของกระเพาะปัสสาวะเสียไป จึงรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย รวมถึงมีอาการปัสสาวะเล็ดเมื่อไอ จาม

ผู้ชายอยู่ในห้องน้ำ

ปวดปัสสาวะบ่อย อาจกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการปัสสาวะบ่อย ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

เมื่อมีอาการปัสสาวะบ่อยลองสำรวจตัวเองก่อนว่า เกิดจากดื่มน้ำเยอะ บริโภคคาเฟอีนมากเกินไป หรือดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าปกติหรือไม่ ถ้าไม่ใช่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ยกเว้นรบกวนชีวิตประจำวันหรือมีอาการร่วม ดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ปัสสาวะมีสีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม
  • มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ
  • มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณด้านข้างและด้านล่างของท้อง
  • ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะไม่ออก
  • มีอาการปวดปัสสาวะอย่างรุนแรง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะ
  • มีไข้

ปวดปัสสาวะบ่อย แม้อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย แต่ถ้ารู้สึกว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยเกินไป ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ เพราะปัญหาเล็ก ๆ อาจลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแรงในอนาคตได้ รวมทั้งวางแผนรับมือค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นโดยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพ เพื่อให้บริษัทประกันภัยเข้ามาช่วยดูแลทั้งค่าห้อง ค่ายา ค่าแพทย์ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในโรงพยาบาลอย่างครอบคลุม ฮักส์ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ที่หลากหลาย สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+