loading
วิธีการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ขอรับเงินชดเชย

วิธีการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ขอรับเงินชดเชย

เขียนเมื่อวันที่ 26/10/2021

ขั้นตอนลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ต้องทำยังไงบ้าง 

จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องประสบปัญหาตกงาน ว่างงาน หรือถูกเลิกจ้างเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ การขาดสภาพคล่องทางการเงินของแต่ละบริษัท ไปจนถึงการแพร่ระบาดของโรคที่ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ ล่าสุดสำนักงานประกันสังคมได้ร่วมกับกรมการจัดหางาน ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตนที่ว่างงาน เพื่อรับประโยชน์ทดแทนจากกรณีว่างงานผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นบริการให้แก่ผู้ประกันตนที่ว่างงาน ทั้งในกรณีถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน โดยเป็นการอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนและการรายงานตัวผ่านช่องทางออนไลน์ และแอปพลิเคชันเพื่อออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนในกรณีว่างงาน ในการใช้เป็นหลักฐานพร้อมยื่นขอรับเงินชดเชยรายได้ว่างงานตามเงื่อนไข 

วิธีขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ประกันสังคม

เสิร์ชหางานออนไลน์

ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์

ช่องทางเว็บไซต์

  1. เข้าเว็บไซต์ http://empui.doe.go.th (กรมจัดหางาน) จากนั้นลงทะเบียนเข้าใช้งานและทำการเข้าสู่ระบบ
  2. ทำการอ่านข้อตกลง จากนั้นกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน และตรวจสอบข้อมูลเพื่อกดยืนยันบันทึกการขึ้นทะเบียน ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
  3. ทำการพิมพ์เอกสารใบนัดรายงานตัว แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) และเตรียมเอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาสมุดเงินฝากของธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ยกเว้น ธนาคารออมสินและธนาคารธกส.
  4. นำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่สาขาใกล้บ้าน ภายใน 1 เดือน นับจากวันขึ้นทะเบียน

**ผู้ลงทะเบียนต้องทำการรายงานตัวเดือนละ 1 ครั้ง ตามกำหนดนัดรายงานตัว โดยสามารถรายงานตัวได้ก่อนหรือหลังวันนัด 7 วัน หากเกินกำหนดจะถือเป็นการรายงานตัวล่าช้าทางด้านประกันสังคมจะไม่พิจารณาประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานให้

ช่องทางแอปพลิเคชัน ไทยมีงานทำ

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ไทยมีงานทำ ผ่านระบบ App Store หรือ Play Store
  2. เลือกบุคคลธรรมดาสำหรับประชาชนทั่วไป 
  3. กดสมัครเพื่อลงทะเบียน (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน) หรือ กดเข้าสู่ระบบ 
  4. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องจากนั้นกดยืนยัน

นอกจากนี้ช่องทางแอปพลิเคชันยังมีสามารถตรวจเช็คข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับการว่างงานได้ ดังนี้ 

  • ตรวจสอบผลการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
  • ตรวจสอบสถานะการรับสิทธิประโยชน์ทดแทน เช่น วันที่รายงานตัวครั้งต่อไป จำนวนเงินที่ได้รับ เป็นต้น
  • ผู้ประกันตนสามารถค้นหาตำแหน่งงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบบแนะนำได้

เงื่อนไขการรับสิทธิ์ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 

สำหรับผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

  • เป็นผู้ประกันตน ประกันสังคม ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนการว่างงาน และต้องผู้ยื่นขอรับสิทธิ์ต้องอายุไม่เกิน 55 ปี 
  • ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของหน่วยงงานรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน
  • มีความสามารถในการทำงาน มีความพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่รัฐจัดหาให้
  • ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานตามที่กำหนด
  • ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี ดังนี้

          - ทุจริตต่อหน้าที่ 

          - กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 

          - จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 

          - ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง 

          - ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร 

          - ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 

          - ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

          - ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

สิทธิประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับในกรณีว่างงาน

ถูกเลิกจ้างงาน

เงินทดแทนว่างงาน

กรณีถูกเลิกจ้าง 

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นการคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท 

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จากกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต 

ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน 50% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน

นอกจากเงินทดแทนว่างงานแล้วควรวางแผนค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมโดยเฉพาะในเรื่องการดูแลสุขภาพในช่วงสถานการณ์โควิด กับการเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่คุ้มครองในส่วนของค่ารักษาในยามเจ็บป่วย

สำหรับในสถานการณ์ปัจจุบันนอกจากปัญหาการว่างงานแล้ว ยังต้องพบเจอกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดเป็นวงกว้าง รวมถึงมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่อยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นการหันมาให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการเลือกทำประกันภัยสุขภาพและประกันภัยโควิด ที่ช่วยให้คุณอุ่นใจในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง รวมถึงเงินชดเชยรายได้จากการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยหลากหลายที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ความต้องการในเรื่องของสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยที่เหมาะสม ติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง  Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานจัดหางาน, กรมการจัดหางาน, mol.go.th


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+