loading
ปวดหัวไมเกรน นอนไม่หลับ ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

ปวดหัวไมเกรน นอนไม่หลับ ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

เขียนเมื่อวันที่ 19/07/2021

ปวดหัวไมเกรน อาการที่ไม่ควรละเลย

หลายคนคงเคยเกิดอาการปวดหัวกันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และมีสาเหตุที่หลากหลายแตกต่างกันไป อาการหลักของไมเกรนจะเป็นอาการปวดศีรษะรุนแรงที่บริเวณด้านใดด้านหนึ่ง ในบางคนมีการปวดศีรษะทั้ง 2 ด้านรวมถึงอาจปวดลุกลามไปยังใบหน้าและลำคอ

ไมเกรนมีกี่ระยะ อันตรายไหม

ไมเกรนสามารถแบ่งออกตามอาการได้ 5 ระยะ โดยมีลักษณะอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 

1.ระยะอาการนำ (Prodome) 

ผู้ที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่จะมีลักษณะอาการเช่นนี้อยู่ประมาณร้อยละ 50 เช่น อาการอ่อนเพลีย รู้สึกหงุดหงิด ไม่มีสมาธิ จะพบอาการเหล่านี้ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนเกิดอาการปวดศีรษะ

2.ระยะออรา (Aura)

ผู้ที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่จะมีลักษณะอาการเช่นนี้อยู่ประมาณร้อยละ 20 จะพบอาการผิดปกติทางด้านการมองเห็น เช่น เห็นภาพเพียงครึ่งเดียว มองเห็นเส้นคลื่น เกิดจุดเมื่อมองวัตถุ เป็นอาการที่พบได้ก่อนเกิดการปวดศีรษะในช่วง 1 ช่วงโมง

3.ระยะปวดศีรษะ (Headache)

อาการส่วนใหญ่ที่พบในระยะนี้คือ อาการปวดหัวข้างเดียว หรือ ปวดทั้งสองข้าง พร้อมอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ คลื่นไส้อาเจียน ปวดกระบอกตา ปวดต้นคอ กลัวเสียงที่ดัง ซึ่งจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 4-72 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละบุคคล 

4.ระยะหายปวดศีรษะ (Resolution) 

ในผู้ป่วยบางรายอาการปวดศีรษะจะหายไปหลังจากที่ร่างกายนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ

5.ระยะหลังหายจากการปวดศีรษะ (Postdrome)

ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย รวมถึงรู้สึกมึนศีรษะ ความคิดไม่แล่น หลังจากหายจากอาการปวดศีรษะ ควรต้องพักผ่อนร่างกายให้เต็มที่ 

ปวดหัวไมเกรน

วิธีป้องกันอาการปวดหัวไมเกรน

 

สาเหตุของไมเกรน เกิดจากอะไร 

ไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร ทางผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของเส้นประสาท หรือหลอดเลือดในสมอง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในการดำเนินชีวิตที่เป็นสิ่งกระตุ้นก่อให้เกิดอาการ ได้แก่ 

สภาพร่างกาย 

การดูแลสุขภาพร่างกายถือเป็นสิ่งสำคัญ สาเหตุของอาการปวดหัวที่เกิดจากสภาพร่างกายเป็นตัวกระตุ้นก่อให้เกิดอาการ เช่น ภาวะเครียด นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อดอาหาร เป็นต้น 

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน 

หากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น การตั้งครรภ์ ช่วงเป็นประจำเดือน การทานยาปรับฮอร์โมน หรือทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น 

สภาพแวดล้อม 

สภาพแวดล้อมหรือสภาพอากาศ ส่งผลให้เกิดสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการได้ เช่น อากาศร้อนจัด อากาศหนาวจัด อยู่ในสถานที่ที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ หรืออยู่ในที่มีเสียงดังเกินไป เป็นต้น 

การรับประทานอาหาร 

อาหารที่รับประทานในทุก ๆ วัน อาจเป็นสาเหตุและกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้แบบไม่รู้ตัว เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาหารที่มีส่วนผสมของสารไทรามีน เช่น ผงชูรส ชีส สารให้รสหวาน ผลไม้รสเปรี้ยวจัดเป็นประจำ เป็นต้น 

ยาหรือสารเคมีบางชนิด 

ยาและสารเคมี เช่น Nitroglycerine, Hydralazine, Histamine, Resepine เป็นสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ 

วิธีป้องกันไมเกรน ทำอย่างไรได้บ้าง? 

ไมเกรนสามารถป้องกันได้โดยเริ่มต้นที่ตัวเอง หลีกเสี่ยงพฤติกรรมที่อาจเป็นสิ่งกระตุ้นก่อให้เกิดอาการ ควรพักผ่อนนอนหลับให้เต็มที่ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ จำกัดการดื่มเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี หากพบอาการรุนแรงหรือมีอาการต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลานานควรรีบพบแพทย์ 

การปวดศีรษะไมเกรนถึงแม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถพบแพทย์เพื่อรับประทานยาบรรเทาอาการในการควบคุมอาการปวด เพื่อไม่ให้รบกวนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากการเกิดอาการปวดศีรษะแบบเฉียบพลัน และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ รวมถึงเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพหากเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉินด้วยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพ ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่อย่าง วิริยะประกันภัย อุ่นใจรัก โกลด์ มอบความคุ้มครองสูงสุด 5,000,000 บาท/ครั้ง* ค่าห้องสูงสุด 15,000 บาท/วัน* ค่ารักษา แพทย์ ผ่าตัด จ่ายตามจริง และเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลชั้นนำเครือ BDMS โดยไม่ต้องสำรองจ่าย กับค่าเบี้ยประกันเริ่มต้น 13,284 บาท/ปี ฮักส์ยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัย สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูลจาก : Wikipedia , nhs.uk


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+