loading
โชคร้ายมาเยือน ถูกไล่ออกจากงาน ได้เงินชดเชยไหม

โชคร้ายมาเยือน ถูกไล่ออกจากงาน ได้เงินชดเชยไหม

เขียนเมื่อวันที่ 27/10/2021

ลูกจ้างควรรู้ รับเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างประกันสังคม มีขั้นตอนอย่างไร

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศไทยมีทิศทางดีขึ้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่ากลับสู่ภาวะปกติ ถึงที่ผ่านรัฐบาลเร่งระดมฉีดวัคซีน COVID-19 ให้คนไทย ทั้งเริ่มคลายล็อกดาวน์ทำให้หลายธุรกิจกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง และเมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. ของวันที่ 11 ตุลาคม 2564 นายกรัฐมนตรีได้ออกแถลงการณ์เปิดรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 แบบไม่ต้องกักตัว สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว โดยมาจากประเทศความเสี่ยงต่ำ พร้อมมีหลักฐานผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR 

นอกจากนี้รัฐบาลได้เตรียมผ่อนคลายมาตรการเพิ่มอีกขั้นเพื่อต้อนรับเดือนธันวาคม นั่นคือพิจารณาอนุญาตให้ดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร ควบคู่กับการอนุญาตให้สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสถานบันเทิง เปิดให้บริการได้อีกครั้ง ด้วยหวังเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังที่ผ่านมาประชาชนจำนวนมากถูกเลิกจ้าง เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้ เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน สำนักงานประกันสังคมได้มอบเงินชดเชยโควิดกรณีลูกจ้างตกงาน ว่างงาน และถูกเลิกจ้าง โดยมีรายละเอียดดังนี้

เงินชดเชย คืออะไร ถูกเลิกจ้างแบบไหนถึงมีสิทธิได้รับ

เป็นเงินชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือไปจากเงินประเภทอื่น ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 โดยผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีเลิกจ้างจากนายจ้าง คือ ผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน สามารถขอเงินชดเชยได้ แต่ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนว่างงานกับประกันสังคม ภายใน 30 วันหลังจากว่างงาน

ถูกไล่ออกจากงานแบบไหน ถึงไม่ได้เงินชดเชย

ลูกจ้างที่ได้รับเงินชดเชยจากการเลิกจ้างจากนายจ้างต้องไม่ได้ทำผิดหรือถูกให้ออกจากงาน ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้

  • ลาออกเองโดยสมัครใจ
  • ทุจริตต่อนายจ้าง หรือทำความผิดอาญา
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ประมาทเลินเล่อจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน โดยที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว
  • ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  • สัญญาจ้างงานมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน

หากถูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุดังที่กล่าวมาในข้างต้น จะไม่ได้รับเงินชดเชยตามที่กฎหมายระบุไว้

ลูกจ้างว่างงานจากโควิด-19 ได้เงินชดเชยเท่าไหร่

ธนบัตร 1,000 บาท

รับเงินเยียวยาประกันสังคม กรณีถูกเลิกจ้าง

อันดับแรกต้องบอกก่อนว่า มาตรการเยียวยาโควิดล่าสุดที่สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งนั้นเป็นการมอบเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ต้องหยุดงาน ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกเพราะวิกฤตโควิด-19 ในปี 2564 เป็นให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับเงินเยียวยาประกันสังคม ตลอดจนจำนวนเงินที่ได้รับมีอัตราแตกต่างไปจากปกติ เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมมองว่าสถานะว่างงานของลูกจ้างในตอนนี้เป็นเหตุสุดวิสัย

คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับเงินชดเชยโควิด

(1) เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 6 เดือนใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน

(2) ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย โดยการหยุดงานและลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้าง

(3) มีระยะเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป

ว่างงานได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม จำนวนเท่าใด

หากอ้างอิงตามสิทธิประโยชน์ประกันสังคมเรื่องการการขอรับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน พบว่ามีการแบ่งกรณีรับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เนื่องจากว่างงานเป็น 2 กรณี

(1) กรณีถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 180 วันในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (รวมกรณีถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 ปี)

(2) กรณีลูกจ้างลาออกเองหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 90 วันในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (รวมกรณีลาออกเองหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 ปี)

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันผู้ประกันตน มาตรา 33 ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มีสิทธิได้รับเงินชดเชยรายได้ตามอัตราดังต่อไปนี้

กรณีว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย

  • ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
  • หน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน

กรณีว่างงาน จากการลาออกหรือเลิกจ้าง

  • ว่างงานจากการลาออก จ่าย 45% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • ว่างงานจากกณีเลิกจ้าง จ่าย 70% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

เงินชดเชยถูกเลิกจ้าง จะได้รับเมื่อไหร่

ในส่วนของเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่ว่าจะเป็นกรณีลูกจ้างถูกเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออกเอง จะได้รับเงินช่วยเหลือกรณีว่างงานจากประกันสังคมก็ต่อเมื่อ ลูกจ้างได้ทำการขึ้นทะเบียนว่างงานกับกรมแรงงานเสียก่อน โดยขึ้นทะเบียนรายงานตัวและขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th

สำหรับใครที่เจอเหตุการณ์ตกงานแบบไม่ทันตั้งตัวแบบนี้ ไม่ว่ามีสาเหตุมาการแพร่ระบาดของ COVID-19 เหตุน้ำท่วม หรือสาเหตุอื่น ๆ  อันเกิดจากการกระทำผิดของลูกจ้างจนถูกให้ออกจากงาน ขอให้ลูกจ้างตั้งสติและอย่าเพิ่งหมดหวัง ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางออกเสมอ นอกเหนือจากการขึ้นทะเบียนว่างงานเพื่อรับเงินชดเชยรายได้แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการวางแผนรับมือปัญหาสุขภาพและการใช้จ่าย เพื่อประคับประคองตัวเองให้ก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ แน่นอนว่าการเลือกทำประกันภัยสุขภาพเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้อุ่นใจยามเจ็บป่วยในอนาคต และฮักส์ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองได้อย่างครอบคลุม ทั้งค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน อย่างประกันภัยสุขภาพ Owner Care ให้ความคุ้มครองทั้งการรักษาแบบ OPD และ IPD และชดเชยรายได้เมื่อต้องหยุดงาน ราคาเบี้ยเพียงเดือนละ 735 บาท/วัน แต่คุ้มครองสูงสุดถึง 1 ล้านบาท/ปี* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541, พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533, สำนักงานประกันสังคม, กรมการจัดหางาน


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+