loading
ไขข้อสงสัย รถใหญ่ชนรถเล็กผิดเสมอ จริงหรือไม่

ไขข้อสงสัย รถใหญ่ชนรถเล็กผิดเสมอ จริงหรือไม่

เขียนเมื่อวันที่ 18/08/2021

รถใหญ่ชนรถเล็ก ใครผิดกันแน่

“รถใหญ่ชนรถเล็ก ยังไงรถใหญ่ก็ผิด” หรือ "รถใหญ่ผิดเสมอ" ประโยคคุ้นหูที่มักได้ยินเวลาประสบเหตุรถยนต์กับมอเตอร์ไซค์ชนกัน จนทำให้บางคนเชื่ออย่างสนิทใจเลยว่า มอเตอร์ไซค์เฉี่ยวรถยนต์ ผู้ที่ขับรถยนต์ย่อมตกเป็นฝ่ายผิด แล้วความเชื่อดังกล่าวตกลงเป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ Hugs Insurance จะพาไปไขข้อสงสัยกันว่าแท้จริงแล้ว รถใหญ่ชนรถเล็กใครผิดกันแน่ รวมถึงกฎหมายกรณีรถชนกันที่ควรรู้

กฎหมายน่ารู้ กรณีรถชนกันใครผิดใครถูก

(1) รถชนท้าย

กรณีขับรถชนท้าย เข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุว่า “ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างคันหน้าพอสมควรในะยะที่หยุดรถได้โดยปลอดภัย เมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ” ดังนั้น ถ้าคุณขับรถชนท้ายคันหน้าไม่ว่าจะเกิดความประมาท ความตั้งใจ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คุณก็เป็นฝ่ายผิดเพราะไม่ได้เว้นระยะห่างเมื่อขับรถตามหลังรถคันอื่น แต่ปัจจุบันยังต้องพิจารณาพฤติกรรมและหลักฐานจากเทคโนโลยีทั้งจากกล้องติดรถและกล้องของโทศัพท์มือถือควบคู่กันไปด้วย

(2) ประมาท 

หากเกิดอุบัติเหตุเพราะความประมาท อย่างเมาแล้วขับรถชนมอเตอร์ไซค์ ถือว่ามีความผิดฐานประมาท ตามมาตรา 291 ประมวลกฎหมายอาญา "ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่น" เชื่อมโยงกับมาตรา 43 (1) (2) และ (4) พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522

เนื้อหาพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 

รถใหญ่ชนรถเล็กต้องพิจารณาเรื่องความประมาท 

(3) เจตนาขับรถชน

การตั้งใจขับรถชนหรือพยายามถอยหลังชนรถคู่กรณี ถือว่าผู้ที่ขับรถก่อเหตุดังกล่าวเป็นฝ่ายผิดแน่นอน ส่วนจะมีความผิดตามกฎหมายมาตราไหนบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับหลักฐานข้อเท็จจริงในคดี

(4) ฝ่าฝืนกฎหมาย 

อุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งเกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ว่าจะฝ่าไฟแดง ขับรถย้อนศร หรือกลับรถในที่ห้ามกลับ ล้วนเข้าข่ายฐานความผิดตามมาตรา 420 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งระบุว่า "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"

(5) เหตุสุดวิสัย 

อุบัติเหตุที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย คนขับอาจไม่มีความผิด อาทิ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2546 ซึ่งเป็นกรณีรถจักรยานยนต์เลี้ยวตัดหน้ากะทันหัน ทำให้ไม่สามารถบังคับรถให้หยุดได้ทัน เหตุการณ์ดังกล่าวมิได้เกิดจากความประมาทของผู้ขับรถยนต์ แต่ต้องบอกก่อนว่าทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่สามารถใช้ได้ทุกกรณี เนื่องจากต้องพิจารณารายละเอียดอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย

รถยนต์ชนมอเตอร์ไซค์ล้มบนพื้นถนน

อุบัติเหตุรถยนต์กับมอเตอร์ไซค์ชนกัน

ไขคำตอบ รถใหญ่ชนรถเล็ก ใครผิด

สำหรับกรณีนี้ต้องทำความเข้าใจกันใหม่ เพราะไม่ใช่ทุกครั้งที่เกิดเหตุรถใหญ่เฉี่ยวชนกับรถเล็กแล้วรถใหญ่ผิดเสมอไป เนื่องจากตามหลักกฎหมายให้พิจารณาว่าใครเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายผิด ดังนี้

1 พฤติการณ์ของคนขับรถในแต่ละคัน 

ลำดับแรกให้พิจารณาก่อนว่าฝ่ายใดเป็นผู้ประมาทก่อน หรือมีความประมาทมากกว่า จนเกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนกัน แต่ถ้าศาลตัดสินว่าเป็นการประมาทร่วม ต้องดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยร่วมกันทั้งสองฝ่าย

2 การฝ่าฝืนกฎหมายจราจร

หากคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่าฝืนกฎหมายจราจรให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ฝ่ายที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ ตามมาตรา 59 วรรค 4 ประมวลกฎหมายอาญา "การกระทำโดยประมาทได้แก่การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องกระทำตามวิสัย และพฤติการณ์ ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่" 

ตัวอย่าง

กรณีมอเตอร์ไซค์เฉี่ยวรถยนต์และมีหลักฐานว่า มอเตอร์ไซค์ขับย้อนศรพุ่งเข้าในเลนแบบกระชั้นชิด จนผู้ขับรถยนต์ไม่สามารถเบรกหรือหลบหลีกได้ทัน เคสนี้ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้ผู้ขับรถยนต์ไม่มีความผิด คู่กรณีอย่างฝ่ายมอเตอร์ไซค์ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้แม้จะเสียชีวิต

 

เมื่อพิจารณาข้อมูลข้างต้น คงทำให้ผู้ขับขี่ที่ประสบเหตุขับรถยนต์เฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์คลายความกังวลไม่น้อย เพราะเวลาเกิดเหตุไม่ใช่รถใหญ่ที่ผิดเสมอไป ยังต้องนำองค์ประกอบอื่น ๆ มาประกอบการตัดสินในชั้นศาลด้วย

แต่ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้อยู่ทุกเมื่อทั้งรถเล็ก รถใหญ่  สิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่ควรตระหนักอยู่เสมอในการขับรถ คือการใช้ความระมัดระวัง มีสติ มีน้ำใจให้เพื่อนร่วมทาง และเคารพกฎหมายจราจร เพื่อความปลอดภัยของคุณเอง นอกจากนี้ควรต่ออายุ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันภัยรถยนต์เป็นประจำทุกปี ห้ามปล่อยให้ขาดหรือหมดอายุเด็ดขาด หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินประกันภัยรถยนต์สามารถช่วยได้ แต่ถ้าไม่รู้ว่ารถยนต์ของคุณเหมาะกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1, ชั้น 2, ชั้น 2+, ชั้น 3 หรือชั้น 3+ นอกจากนี้ ฮักส์ อินชัวรันซ์ กูรูประกันภัยออนไลน์ ยังมีประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่จ่ายค่าเบี้ยตามไมล์ ค่าเบี้ยเริ่มต้นเพียง 4,900 บาท/ปี ยินดีให้คำปรึกษาทุกเรื่องประกันภัย เพื่อให้คุณได้แผนความคุ้มครองที่คุ้มค่าและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มากที่สุด โดยสามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

 

อ้างอิงข้อมูล : พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522, ประมวลกฎหมายอาญา, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2546


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#ประกันรถยนต์

#ฮักส์ประกันภัยรถยนต์

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+