loading
เช็คลิสต์ ยาสำหรับ Home Isolation รักษาโควิดที่บ้าน

เช็คลิสต์ ยาสำหรับ Home Isolation รักษาโควิดที่บ้าน

เขียนเมื่อวันที่ 25/08/2021

ยาสามัญที่ควรมีติดไว้ เพื่อรักษาโควิดเบื้องต้นที่บ้าน

สถานการณ์โควิด-19 เป็นช่วงเวลาที่ใครหลายคนต้องใช้เวลาอยู่บ้านเป็นหลัก เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อและแพร่เชื้อ COVID-19 ต่อคนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่ถึงทุกคนจะเรียนออนไลน์หรือ Work From Home ยังมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองการเตรียมพร้อมรับอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อย่างการตระเตรียมยาสามัญประจำบ้านหรือยาที่ควรมีติดบ้านไว้ เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ หากต้องรักษาตัวแบบ Home Isolation หรือการแยกรักษาตัวที่บ้านก็ช่วยให้คุณอุ่นใจได้ว่า เมื่อต้องรักษาตัวเองที่บ้านระหว่างรอเตียง หรือจำเป็นต้องกักตัวที่บ้านเพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงก็มียารักษาอาการเบื้องต้น

แต่ก่อนไปจดลิสต์ยาและของใช้เตรียมสำหรับ Home Isolation รักษาโควิดที่บ้าน ลองไปทำความรู้จักการรักษาตัวเองจากที่บ้าน หรือ Home Isolation ก่อนว่าเหมาะกับใคร และมีวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างไร เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวเองและคนในครอบครัว

Home Isolation คืออะไร เหมาะกับใคร

บ้านสร้างเกราะป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

อยู่บ้านลดโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด-19

Home Isolation หรือการแยกกักตัวเพื่อรักษาโควิด-19 ที่บ้าน เป็นแนวทางปฏิบัติที่ใช้ดูแลผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียวซึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย โดยการพักรักษาตัวที่บ้านแทนการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ระหว่าง Home Isolation ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับความช่วยเหลือและการติดตามอาการจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยโควิด-19 ทุกคนเข้ารับการดูแลแบบ Home Isolation ได้ ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์นี้

(1) เป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่กำลังรอเตียงในโรงพยาบาล และผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าสามารถรักษาตัวเองที่บ้านได้

(2) ได้รับการรักษาโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel มาแล้วอย่างน้อย 10 วัน  และแพทย์วินิจฉัยว่าสามารถกลับมารักษาตัวแยกที่บ้านต่อได้

(3) เป็นผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มสีเขียวที่อาการไม่รุนแรง 

(4) มีอายุน้อยกว่า 60 ปี

(5) สุขภาพร่างกายแข็งแรง 

(6) ไม่มีภาวะอ้วน

(7) ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคภูมิคุ้นกันบกพร่อง และโรคเบาหวาน

เมื่อต้อง Home Isolation ควรปฏิบัติตัวอย่างไร 

(1) ระหว่าง Home Isolation ขอให้งดออกจากที่พัก และงดเยี่ยมเด็ดขาด แต่ถ้าจำเป็นต้องสั่งอาหารหรือขอให้ใครจัดหาอาหารมาให้ แนะนำให้เตรียมโต๊ะสำหรับวางสิ่งของแทนการออกไปรับด้วยตัวเอง

(2) หากอยู่ร่วมบ้านกับคนอื่น ๆ ขอให้เว้นระยะห่างจากทุกคนอย่างน้อย 2 เมตร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยเรื้อรัง 

(3) ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา แม้อยู่ในห้องพักเพียงลำพัง

(4) แยกของใช้ส่วนตัวจากผู้อื่น และเมื่อทานอาหารเสร็จแล้ว ให้ล้างทำความสะอาดด้วยตัวเองทันที

(5) แยกห้องนอนส่วนตัว หรือหากแยกไม่ได้ ให้นอนห่างจากคนอื่น ๆ อย่างน้อย 2 เมตร

(6) ให้ซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอน แยกจากคนอื่น ๆ

(7) ใช้ห้องน้ำแยกจากคนอื่น ๆ ถ้าแยกไม่ได้ให้ใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดทุกจุดที่สัมผัสด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์   

(8) หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งก่อนสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ และควรฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในบริเวณจุดที่สัมผัสอีกครั้ง

(9) แยกขยะทุกชิ้นก่อนเก็บใส่ถุงแล้วมัดให้แน่น พร้อมระบุเป็นขยะติดเชื้อ

วิธีดูแลตัวเองช่วง Home Isolation

ผู้หญิงถือปรอทวัดอุณหภูมิในมือ

วิธีดูแลตัวเองเมื่อต้องรักษาตัวแบบ Home Isolation

(1) พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง/วัน ควบคู่กับการดื่มน้ำเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

(2) สังเกตอาการตัวเองทุกวัน โดยการเตรียมเทอร์โมมิเตอร์ หรือปรอทสำหรับวัดอุณหภูมิร่างกาย และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อตรวจเช็คปริมาณออกซิเจนในเลือด 

(3) หากมีไข้ให้ทานยาพาราเซตามอล ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง 

(4) ส่วนอาการอื่น ๆ เช่น ไอ มีเสมหะ หรือมีน้ำมูก ให้ทานยาน้ำแก้ไอ ยาลดน้ำมูก เพื่อรักษาตามอาการหรือตามคำแนะนำของแพทย์

(5) แนะนำให้ทานอาหารรสอ่อน ย่อยง่าย แต่ถ้ามีอาการท้องเสียร่วมด้วย ควรงดทานนม โยเกิร์ต และผลไม้ 

(6) หากทานอาหารไม่ค่อยได้ ขอให้ทานน้อย ๆ แต่ทานบ่อย ๆ แล้วดื่มน้ำให้มากขึ้น หรือดื่มน้ำผสมเกลือแร่

(7) ถ้ามีอาการแย่ลง เช่น หอบ เหนื่อย ไข้สูงลอย ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบโทรติดต่อโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ทันที

 

เช็คลิสต์ยาและไอเทมที่ควรมี ก่อน Home Isolation

Home Isolation กับลิสต์ยาที่ควรมีติดบ้าน

ขวดยาและชุดอุปกรณ์การแพทย์ที่บ้าน

ยาสามัญที่ควรมีติดบ้าน
  • ยาพาราเซตามอล : ควรทานเมื่อมีอาการไข้ หรืออุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 37 องศา โดยทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง
  • ยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก : ควรทานเท่าที่จำเป็น เพราะยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ได้นานเกือบ 24 ชั่วโมง และทำให้เกิดอาการง่วงนอน ให้ทานเพียงวันละ 1 เม็ดเท่านั้น
  • ยาแก้ไอหรือยาน้ำแก้ไอ : ถ้าเป็นยาเม็ดให้ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ส่วนกรณียาน้ำแก้ไอ ให้จิบครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง
  • ยาธาตุน้ำขาว : ในกรณีที่ท้องเสีย ให้จิบครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
  • ผงเกลือแร่หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ : ควรเตรียมไว้เผื่ออาเจียนหรือท้องเสีย น้ำเกลือแร่จะช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุในร่างกายได้
  • ยารักษาโรคประจำตัวอื่น ๆ (ถ้ามี) :  ควรมียาประจำตัวสำรองไว้ 1-2 เดือน เพื่อลดการเดินทางไปโรงพยาบาล และเผื่อกรณีที่ไม่สามารถเดินทางไปรับยาได้
  • ยาฟ้าทะลายโจร : ยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางการแพทย์ใช้บรรเทาอาการไข้หวัดและเจ็บคอ ควรทานในปริมาณที่ระบุเอาไว้ตามฉลากหรือปรึกษาแพทย์ก่อน ทั้งนี้ไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 5 วัน เพราะจะทำให้ตับและไตทำงานหนัก

อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค

  • น้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ สำหรับทำความสะอาดพื้นบ้าน และพื้นผิว
  • เจลแอลกอฮอล์และสบู่เหลว สำหรับทำความสะอาดมือ
  • สเปรย์แอลกอฮอล์ เตรียมไว้พ่นฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวหลังสัมผัส
  • หน้ากากอนามัย ควรเปลี่ยนใช้อันใหม่ทุกวัน 

ไอเทมเฝ้าระวังและสังเกตอาการ

  • เทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทวัดไข้
  • เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว สำหรับเช็คระดับออกซิเจนในเลือด 

นอกจากการเตรียมยาสามัญที่ควรมีติดบ้านไว้แล้ว การดูแลรักษาสุขภาพให้ดี พร้อมป้องกันตัวเองทุกครั้งเมื่อต้องออกจากบ้าน โดยการสวมหน้ากาก หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เสมอ รวมถึงเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถลดความรุนแรงของการป่วยหลังการติดเชื้อและการเสียชีวิตได้  อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการทำประกันภัยโควิด เพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายหากเกิดเหตุไม่คาดฝันในอนาคต และ Hugs Insurance มีประกันภัยโควิดทูนประกันภัย iSafe Extra จ่ายเบี้ยเพียง 599 บาท/ปี แต่รับเงินก้อนทันที 5,000 บาท เมื่อตรวจพบว่าเป็นโควิด-19 พร้อมคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด 100,000 บาท รวมถึงคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุทั่วไปสูงถึง 150,000 บาท และประกันภัยวัคซีนโควิดเบี้ยเริ่มต้นเพียง 70 บาท ให้ผู้ที่สนใจเลือกรับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ความต้องการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันวัคซีนโควิด

#ฮักส์ประกันภัยวัคซีน

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+