loading
Thailand Pass คืออะไร ลงทะเบียนได้ที่ไหน

Thailand Pass คืออะไร ลงทะเบียนได้ที่ไหน

เขียนเมื่อวันที่ 24/11/2021

สรุปครบขั้นตอนลงทะเบียน Thailand Pass ก่อนเข้าประเทศไทย

นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีแถลงเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยโดยไม่ต้องมีการกักตัว 14 วัน  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ควบคู่กับการขอความร่วมมือประชาชนการ์ดอย่าตก คงมาตรการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ COVID-19 และหลังจากนั้นไม่นานราชกิจจานุเบกษาประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 36 กำหนดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว รวมถึงปลดล็อกเคอร์ฟิวพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว 17 จังหวัด โดยให้มีผลตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 นี่ถือเป็นการคลายล็อกครั้งสำคัญที่ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 มาเกือบ 2 ปี

นอกจากนี้รัฐบาลได้ปรับระบบลงทะเบียนสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าไทย จากเดิมต้องขอใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศไทย หรือ COE (Certificate of entry) เปลี่ยนมาใช้การยื่นเอกสารประกอบการเข้าประเทศในระบบไทยแลนด์พาส (Thailand Pass) แทนทั้งหมด เพื่อลดขั้นตอนด้านเอกสารและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และวันนี้ Hugs Insurance จะพาไปทำความรู้จักไทยแลนด์พาสว่าคืออะไร ขั้นตอนขอ Thailand Pass เพื่อลงทะเบียนเข้าไทยเป็นอย่างไร รวมถึงเอกสารที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง มาดูกัน

Thailand Pass คืออะไร

เป็นเอกสารรับรองการเดินทางเข้าประเทศแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Thailand Pass QR code) ที่นำมาใช้แทนการออกเอกสาร COE แบบเดิม เพื่อลดขั้นตอนการกรอกและอัปโหลดเอกสารของผู้เดินทางก่อนเข้าประเทศไทย โดยผู้ที่ประสงค์เดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งชาวไทยและต่างชาติสามารถเข้าไปลงทะเบียนขอรับ Thailand Pass QR code ล่วงหน้า อย่างน้อย 7 วันก่อนวันที่ออกเดินทาง ผ่านเว็บไซต์ tp.consular.go.th และในส่วนของผู้ที่มีหนังสือการเดินทางเข้าประเทศไทยหรือ COE อยู่แล้ว สามารถใช้เอกสาร COE ฉบับเดิม มาแสดง ณ ด่านตรวจเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทยได้เช่นกัน

Thailand Pass และ COE แตกต่างกันอย่างไร

  • ผู้ที่ยื่นขอ Thailand Pass สามารถเดินทางได้เลย หลังตรวจสอบใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด ขณะที่ COE ต้องได้รับก่อนเดินทาง
  • การกรอกข้อมูลและใช้เอกสารในการยื่นเรื่องขอ Thailand Pass ใช้เวลาน้อยกว่าการยื่นขอเอกสาร COE เพราะระบบของไทยแลนด์พาสถูกออกแบบมาเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดการอัปโหลดเอกสาร
  • ระยะเวลาในการอนุมัติ Thailand Pass ใช้เวลาอนุมัติ 1-3 วัน หลังจากลงทะเบียนเดินทางเข้าไทย เก็บข้อมูลไว้ให้ 1 ปี นับจากวันที่ผู้เดินทางฉีดวัคซีนเข็มล่าสุด แต่ COE ใช้เวลาอนุมัติ 3-6 วัน และต้องขอข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่เดินทางเข้าประเทศ

Thailand Pass มีความสำคัญอย่างไร

สำหรับไทยแลนด์พาสหรือเอกสารรับรองการเดินทางเข้าประเทศแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีความสำคัญดังนี้

นักท่องเที่ยว

  • เป็นเอกสารแสดงตัวตน
  • ใช้แสดงเมื่อเดินทางถึงประเทศไทยกับด่านตรวจคนเข้าเมือง
  • ใช้แสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบขณะอยู่ในประเทศไทย
  • ใช้แสดงกับภาคบริการต่าง ๆ ได้ เช่น ร้านอาหาร สปา โรงแรม สนามกีฬา ห้องประชุม เป็นต้น

การใช้ Thailand Pass ของเจ้าหน้าที่

  • เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบความถูกต้องโดยการสแกน QR code ผ่าน Line หรือ WeChat 
  • สามารถติดตามและตรวจสอบการ Approve เอกสารของผู้เดินทางได้อย่างรวดเร็ว
  • มีการเชื่อมโยงการทำงานผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การทำงานคล่องตัวและสะดวกมากขึ้น

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนลงทะเบียน Thailand Pass เพื่อเข้าไทย

หนังสือเดินทางและวัคซีนพาสปอร์ต

เอกสารที่ใช้กรอก Thailand Pass

(1) หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต

(2) ใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิดหรือวัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport)

(3) ประกันภัยโควิด ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ผู้เดินทางเข้าไทยต้องมีกรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองขั้นต่ำ 50,000 ดอลลาร์

(4) หลักฐานยืนยันการจองโรงแรม ASQ หรือยืนยันการจองโรงแรม SHA+

(5) สำเนาวีซ่าเข้าประเทศไทย (หากจำเป็น)

การลงทะเบียน Thailand Pass มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

หน้าเว็บไซต์ tp.consular.go.th

เข้าเว็บไซต์ tp.consular.go.th เพื่อลงทะเบียน Thailand Pass 

(1) ชาวไทยและต่างชาติที่ประสงค์เดินทางเข้าไทยให้เข้าไปที่เว็บไซต์ tp.consular.go.th เพื่อดำเนินการลงทะเบียน พร้อมยื่นหลักฐานประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ต้องขอรับ Thailand Pass QR code ล่วงหน้า อย่างน้อย 7 วันก่อนวันที่ออกเดินทาง 

(2) เลือก “คนไทย” หรือ “Non-Thai”

(3) เลือก “ภาษาไทย” หรือ “ภาษาอังกฤษ

(4) เลือกรูปแบบการเดินทางเข้าประเทศไทย มี 3 แผน ดังนี้

รูปแบบการเดินทางเข้าประเทศไทย

เลือกรูปแบบการเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อขอไทยแลนด์พาส
  • แผนที่ 1 Exemption from Quarantine (Test and Go) เป็นการตรวจสอบผู้เดินทางมาจากประเทศที่กำหนด ผู้เดินทางพำนักอยู่ในประเทศต้นทางไม่น้อยกว่า 21 วัน และได้รับวัคซีนครบโดสอย่างน้อย 14 วันก่อนเดินทาง
  • แผนที่ 2 Sandbox Programme เปิดให้ผู้เดินทางเข้าประเทศ เดินทางไปยังพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัดได้ โดยต้องเป็นผู้ที่รับวัคซีนครบโดสมาแล้ว 14 วัน 
  • แผนที่ 3 Alternative Quarantine สำหรับผู้ที่อยู่นอกเงื่อนไขข้างต้น หรือผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดสตามที่กำหนด

(5) กรอกข้อมูลการเดินทางเข้าประเทศไทย เช่น วัตถุประสงค์การเดินทางเข้ามายังประเทศไทย ประเทศต้นทาง หรือวันเดินทางถึงประเทศไทย เป็นต้น

(6) กดยอมรับข้อตกลง

(7) กรอกข้อมูลส่วนตัวและอัปโหลดหนังสือเดินทางที่มีรูปถ่ายเห็นข้อมูลชัดเจน

(8) กรมควบคุมโรคตรวจสอบข้อมูลและอนุมัติเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนผ่านระบบภายใน 3-5 วัน

(9) กรณีได้รับการอนุมัติแล้วผู้ลงทะเบียนจะได้รับ E-Mail QR Entry Code หรือ Thailand Pass ID ที่จะใช้เมื่อเข้าสู่ประเทศไทย

สำหรับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวในเดือนพฤศจิกายน 2564 คนไทยในฐานะเจ้าบ้านควรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการเกิดคลัสเตอร์ใหม่ ส่วนใครที่กำลังเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเร็ว ๆ นี้ แต่ยังกังวลว่าอาจเกิดอาการแพ้วัคซีน สามารถเลือกความคุ้มครองให้แก่ตัวเองผ่านการเลือกทำประกันภัยวัคซีนโควิดที่ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ หากต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยฮักส์ยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยโควิดและประกันภัยวัคซีนโควิดที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : ราชกิจจานุเบกษา, กระทรวงการต่างประเทศ


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันโควิด

#ประกันวัคซีนโควิด

#ฮักส์ประกันภัยโควิด

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+