loading
ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด อันตรายที่ทั่วโลกต้องเผชิญ

ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด อันตรายที่ทั่วโลกต้องเผชิญ

เขียนเมื่อวันที่ 26/01/2022

รวม COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ ที่ต้องเฝ้าระวัง

นับตั้งแต่ปลายปี 2019 ทั่วโลกต้องเผชิญสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่คร่าชีวิตประชากรแต่ละประเทศไปมากมาย และเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ได้มีการคิดค้นวัคซีนโควิด-19 ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อ COVID-19 แม้นานาประเทศรวมถึงประเทศไทยต่างเร่งเดินหน้าฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนของตน แต่ดูเหมือนอาจไม่เพียงพอหลังพบว่าไวรัสโคโรนา 2019 ได้พัฒนาตัวเองกลายพันธุ์เป็นเชื้อชนิดใหม่ จนล่าสุดมีกระแสข่าวว่าค้นพบโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ต้อนรับต้นปี 2022 อย่าง "เดลตาครอน" ขึ้นมา เป็นผลให้ต่างจับตามองพร้อมเตรียมแผนรับมือ ด้วยไม่อาจรู้ได้ว่าการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลงเมื่อใด วันนี้ HUGS Insurance ได้รวบรวมข้อมูลสายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์ ตลอดจนวิธีสังเกตอาการป่วยโควิดแต่ละสายพันธุ์ เพื่อช่วยคัดกรองความเสี่ยงของตัวเองเบื้องต้น

เปิดรายชื่อ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ พร้อมวิธีสังเกตอาการ

รวบรวมสายพันธุ์โควิด-19 กลายพันธุ์

เชื้อโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์เพื่อความอยู่รอด

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อัลฟา

สำหรับโควิดสายพันธุ์อัลฟาเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ชนิดแรกที่ถูกค้นพบหลังเกิดการระบาดของโรค COVID-19 โดยไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟา (B.1.1.7) พบเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ ช่วงปลายเดือนกันยายน 2563 ด้วยความสามารถที่แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 1.7 เท่า ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) สั่งเฝ้าระวังสายพันธุ์อัลฟาเป็นพิเศษ

อาการโควิดสายพันธุ์อัลฟา

  • มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีอาการหนาวสั่น
  • ไอและเจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • ปวดตามร่างกายและศีรษะ
  • การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เบตา

ส่วนโควิดสายพันธุ์เบตา (B.1.351) พบการระบาดครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2563 แม้ไวรัสชนิดนี้มีการแพร่กระจายเชื้อไม่รวดเร็วเท่าสายพันธุ์เดลตาและอัลฟา แต่ถือเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล เนื่องจากสายพันธุ์เบตาอาจทำให้เกิดอาการป่วยหรือเสียชีวิตได้เช่นกัน

อาการโควิดสายพันธุ์เบตา

  • มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • เจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ
  • ตาแดง
  • การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
  • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตา

การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2563 ในประเทศอินเดียก่อนแพร่ระบาดเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ส่งผลให้โควิดสายพันธุ์เดลตาถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์หนักที่น่ากังวลระดับโลก เนื่องจากมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั้งมีความสามารถในการหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

อาการโควิดสายพันธุ์เดลตา

  • ปวดศีรษะ
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • อาการคล้ายเป็นโรคไข้หวัดธรรมดา

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แกมมา

เชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์แกมมา (P.1) ตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศบราซิลในช่วงเดือนธันวาคม 2563 โดยแกมมาเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ทั้งยังสามารถเอาตัวรอดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ รวมถึงทำให้ประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของวัคซีนในการป้องกันต่อสายพันธุ์นี้ลดลง

อาการโควิดสายพันธุ์แกมมา

  • มีอาการป่วยขั้นพื้นฐานเหมือนกับโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ แต่แกมมาส่งผลให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทั้งยังลดประสิทธิภาพวัคซีน แม้ฉีดวัคซีนแล้วก็มีโอกาสติด COVID-19 ซ้ำ

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แลมบ์ดา

โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา (C.37) พบการระบาดเป็นวงกว้างในประเทศเปรูเมื่อช่วงปลายปี 2563 โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงเกือบ 10% ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด เป็นผลให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้สายพันธุ์แลมบ์ดาเป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง

อาการโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา

  • มีอาการป่วยเบื้องต้นเหมือนโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ ทำให้สังเกตอาการยากกว่าเดิม

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์มิว

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้โควิดสายพันธุ์มิว (B.1.621) เป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ หลังมีการค้นพบครั้งแรกในประเทศโคลอมเบียช่วงเดือนมกราคม 2564 ด้วยมีพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกับสายพันธุ์เบตากับอัลฟา ทำให้เชื้อ COVID-19 ตัวนี้แพร่กระจายได้เร็ว

อาการโควิดสายพันธุ์มิว

  • มีอุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • มีอาการไอคล้ายเรื้อรัง โดยมีอาการไอติดกัน 3 ครั้ง ประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป
  • รู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของการรับกลิ่นและการรับรส

ผู้หญิงนั่งไออยู่บนเตียงนอน

ไอเป็นหนึ่งในอาการร่วมที่เกิดกับผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอไมครอน

หลังจากเกิดการระบาดของไวรัสโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาใต้ จากนั้นไม่นานองค์การอนามัยโลกได้ระกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวลโดยมีรหัสที่เรียกว่า โควิดสายพันธุ์ ​B.1.1.529 หรือโอไมครอน (Omicron) สำหรับลักษณะพิเศษของโควิดกลายพันธุ์โอไมครอน นั่นคือกระจายเชื้อได้เร็ว แต่แสดงอาการน้อย ทั้งสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้

อาการจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

  • อาจมีอาการไม่สบายแค่ 1-2 วัน
  • จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี
  • ไม่ค่อยมีไข้
  • รู้สึกล้าและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • มีอาการไอเล็กน้อย ระคายคอ
  • อาการยังไม่ชัดเท่าสายพันธุ์อื่น
  • เหงื่อออกมากในเวลากลางคืน
  • หากผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคหัวใจติดเชื้ออาจทำให้มีอาการรุนแรง

เดลตาครอน

สำหรับโควิด-19 เดลตาครอนที่กำลังสร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก ถูกค้นพบในช่วงต้นเดือนมกราคม 2565 โดย ลีออนดิออส คอสตริคิส ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากมหาวิทยาลัยไซปรัส ประเทศไซปรัส รายงานว่า เดลตาครอน (Deltacron) เป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ลูกผสมระหว่างเชื้อสายพันธุ์เดลตากับโอมิครอน แต่ทั้งนี้ยังต้องรอความชัดเจนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) อีกครั้ง ว่าเกิดโควิดกลายพันธุ์เดลตาครอนขึ้นจริง โดยล่าสุดมีการยืนยันแล้วว่า ไวรัส Deltacron ไม่มีจริง คาดเกิดการปนเปื้อนในขั้นตอนบางขั้นตอน เช่น น้ำยาถอดรหัสพันธุกรรม เป็นต้น

 

จากการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ที่กล่าวมาข้างต้น พบว่าเชื้อ COVID-19 ยังมีโอกาสพัฒนาตัวเองเพื่อความอยู่รอด ฉะนั้นการต่อสู้กับโรคร้ายเช่นโควิด-19 อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะมีวัคซีน COVID-19 มาใช้เพื่อลดโอกาสติดเชื้อหรือลดความรุนแรงเมื่อเจ็บป่วยแต่นั่นอาจไม่เพียงพอ ทุกคนต้องปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทั้งการสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพลุกพล่าน และออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น แต่หากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ให้แยกตัวจากผู้อื่น พร้อมหาชุดตรวจโควิด-19 หรือไปที่จุดตรวจโรคทางเดินหายใจในสถานพยาบาล หรือจุดให้บริการในชุมชนที่สามารถตรวจสารพันธุกรรมชนิดพีซีอาร์ทันที นอกจากนี้ควรมองหาหลักประกันความเสี่ยงเวลาเจ็บป่วยให้ตนเอง ด้วยการทำประกันภัยสุขภาพที่คุ้มครองทั้งการเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) และการนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน (IPD) และการชดเชยรายได้ หากสนใจทำกรมธรรม์ประกันภัย ฮักส์ อินชัวรันซ์ ยินดีให้คำแนะนำแผนประกันภัยสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ซื้อ สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : Cyprus Mail, องค์การอนามัยโลก, Bloomberg, Metro


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+