loading
อัปเดตล่าสุด โควิดมีกี่สายพันธุ์ อาการรุนแรงระดับไหน

อัปเดตล่าสุด โควิดมีกี่สายพันธุ์ อาการรุนแรงระดับไหน

เขียนเมื่อวันที่ 25/01/2022

เช็คลิสต์เชื้อไวรัส COVID-19 ล่าสุดในปัจจุบันมีกี่สายพันธุ์ 

จากสถานการณ์​แพร่ระบาด​ของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกพบว่าตัวเชื้อไวรัสสามารถกลายพันธุ์​ได้โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยโคโรนาไวรัส (COVID-19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจพบอาการป่วยตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนัก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เชื้อไวรัสจะสามารถแพร่กระจายจากปากหรือจมูกของผู้ติดเชื้อในอนุภาคของเหลวขนาดเล็กขณะไอ จาม พูด ร้องเพลง หรือหายใจ อนุภาคเหล่านี้มีขนาดตั้งแต่ละอองขนาดใหญ่ ไปจนถึงละอองที่ลอยในอากาศที่มีขนาดเล็ก ซึ่งในปัจจุบันมีการตรวจพบเชื้อไวรัสโควิดหลากหลายสายพันธุ์ จะมีโควิดมีกี่สายพันธุ์ในไทย อาการรุนแรงระดับไหน รวมถึงลักษณะอาการป่วยโควิดของเชื้อแต่ละสายพันธุ์เป็นเช่นไร HUGS Insurance รวบรวมข้อมูลมาฝากกัน

อัปเดตล่าสุดโควิดมีกี่สายพันธุ์ 2565 มีสายพันธุ์อะไรบ้าง 

เนื่องด้วยวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องของเชื้อไวรัสโควิดทำให้มีการค้นพบเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีทั้งหมด 8 สายพันธุ์ที่ได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งแต่ละชนิดจะมีระดับความรุนแรงและลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 

ลักษณะเซลล์เชื้อไวรัส

สายพันธุ์เชื้อไวรัสโควิด-19

1. โควิดสายพันธุ์อู่ฮั่น (Serine)

เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ S หรือชื่อที่คนส่วนใหญ่เรียกกันคือสายพันธุ์อู่ฮั่นถือเป็นการพบเชื้อครั้งแรก โดยพบที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน ในช่วงเดือนมกราคมปี 2563 

ลักษณะอาการเบื้องต้น :  มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอแห้ง อ่อนเพลีย มีลักษณะหายใจลำบาก-หายใจถี่ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก การรับรสผิดปกติ หากมีอาการรุนแรง 

2. โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha)

เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ B.1.1.7 หรือโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า พบครั้งแรกที่เมืองเคนต์ในประเทศอังกฤษ ช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 และระบาดในประเทศไทยช่วงเดือนมกราคม 2564 พันธุ์นี้แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% และยังเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี 

ลักษณะอาการเบื้องต้น :  มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย หายใจหอบเหนื่อย มีอาการอาเจียนหรือท้องเสีย ความสามารถในการการรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ

3. โควิดสายพันธุ์เบต้า (Beta)

เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ B.1.351 หรือ โควิดสายพันธุ์เบต้า พบครั้งแรกในอ่าวเนลสันแมนเดลา เมืองอีสเทิร์นเคป ประเทศแอฟริกาใต้ ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 พบครั้งแรกในไทยช่วงเดือนมิถุนายน 2564 และสายพันธุ์เบต้ามีอัตราการแพร่เชื้อได้รวดเร็วขึ้น 50% จากสายพันธุ์เดิม รวมถึงมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งสำคัญ ทำให้เชื้อไวรัสสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่ร่างกายได้มากยิ่งขึ้น

ลักษณะอาการเบื้องต้น : มีไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย มีอาการท้องเสีย ตาแดง ความสามารถในการรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ และมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง

4. โควิดสายพันธุ์แกมมา (Gamma)

เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ P.1 หรือแกมมา ถือเป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) ที่ประกาศโดยองค์การอนามัยโลก พบครั้งแรกในประเทศบราซิล และพบในประเทศไทยช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 เป็นเชื้อที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ดี 

ลักษณะอาการเบื้องต้น : มีไข้ต่ำ ปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส ลักษณะอาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา

5. โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา

เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ C.37 หรือแลมบ์ดา ประเภทเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง (Variants of interest : VOI) พบครั้งแรกช่วงเดือนธันวาคม ปี 2563 ที่ประเทศเปรู เป็นเชื้อที่สามารถต้านภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ และแพร่ระบาดได้มากกว่ารวดเร็วกว่าสายพันธุ์อู่ฮั่น ซึ่งสายพันธุ์นี้ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย

ลักษณะอาการเบื้องต้น : อาการเริ่มต้นของสายพันธ์ุแลมด้ายังไม่เป็นที่แน่ชัด เเต่มีข้อมูลว่ามีโอกาสแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น รวมถึงมีความรุนเเรงในการแสดงอาการมากกว่าอีกด้วย ซึ่งขณะนี้เชื้อชนิดนี้มีระบาดแค่ในต่างประเทศเท่านั้น

6. โควิดสายพันธุ์เดลตา (Delta)

เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ B.1.617.2 เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ช่วงเดือนตุลาคม 2563 และพบในประเทศไทยครั้งแรงช่วงพฤษภาคม 2564 และในปัจจุบันยังกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทย รวมถึงถือได้ว่าอันตรายอย่างมากในไทยเนื่องจากเป็นเชื้อที่ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากอยู่ในขั้นวิกฤต ทั้งยังสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี แม้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วก็สามารถเสี่ยงติดเชื้อและมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน

ลักษณะอาการเบื้องต้น : อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา มีไข้ต่ำ ปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก ส่วนมากไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส

7. โควิดสายพันธุ์มิว

เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ B.1.621 หรือ มิว โควิดเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง (Variants of interest : VOI) พบครั้งแรกในช่วงเดือนมกราคม 2564 ที่ประเทศโคลอมเบีย ถือเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงเนื่องจากมีการกลายพันธุ์ทั้งหมด 50-60 ตำแหน่ง ทำให้สามารถติดเชื้อง่ายขึ้นและมีระดับความรุนแรงมากขึ้น

ลักษณะอาการเบื้องต้น : มีไข้อุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป มีอาการไอเรื้อรัง มีการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการรับกลิ่นและการรับรส

8. โควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron)

เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือ โอไมครอน ถือเป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) พบครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยผู้ป่วยรายแรกพบในประเทศแอฟริกาใต้ ทั้งยังเป็นเชื้อที่กำลังระบาดในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งยังสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมีการฟุ้งและลอยตัวในอากาศได้นานกว่าสายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงเป็นเชื้อที่หลบภูมิคุ้มกันได้ดี

ลักษณะอาการเบื้องต้น : ลักษณะอาการคล้ายเป็นหวัด มีอาการไอแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ มีเหงื่อออกมากในเวลากลางคืน มีไข้ต่ำ สัก 1-2 วันและอาการจะหายไป ไม่ส่งผลต่อการสูญเสียการรับกลิ่นหรือรส ในผู้ป่วยบางรายไม่ตรวจพบอาการใด ๆ 

สำหรับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สถานการณ์ในปัจจุบันยังคงมีการตรวจพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องนอกจากการได้รับวัคซีนโควิดที่ครบโดสรวมถึงการฉีดบูสเตอร์แล้ว ต้องไม่ลืมให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพร่างกายให้ห่างไกลจากโควิด ทั้งการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน พกเจลล้างมือแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดหรือหมั่นล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านหรือแออัดและสถานที่เสี่ยง รวมถึงดูแลสุขภาพให้แข็งแรงพร้อมวางแผนดูแลสุขภาพร่างกายด้วยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพ ในยามเจ็บป่วยฉุกเฉิน จะได้อุ่นใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งค่ารักษาพยาบาล  ค่าห้อง และค่ารักษาพยาบาลครอบคลุมการติดเชื้อโควิด-19 ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ สามารถติดต่อผ่าน Facebook: HUGS Insurance หรือทางช่องทางไลน์ @hugsinsurance หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : องค์การอนามัยโลก, WHO, thairath, bangkokbiznews


ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+