loading
เหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน ลางบอกเหตุของโรคร้าย

เหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน ลางบอกเหตุของโรคร้าย

เขียนเมื่อวันที่ 25/08/2021

เช็คให้ชัวร์ เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด ไม่เป็นไรจริงหรือ

แม้อาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน หายใจได้แค่ครึ่งปอด เป็นอาการที่พบบ่อยหลังทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การเดินขึ้นลงบันได เดินออกกำลังกาย หรือวิ่ง แต่รู้ไหมว่าหากคุณมีอาการเหนื่อย หัวใจเต้นแรงและเร็ว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือใช้แรงงานหนัก นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายมีโรคร้ายซุกซ่อนอยู่ แล้วอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน เตือนถึงโรคร้ายอะไรบ้าง วันนี้ Hugs Insurance มีคำตอบมาฝาก

อาการเหนื่อยง่าย หมายถึง

เป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและสามารถหายได้เองเมื่อหยุดออกกำลังกาย หรือเลิกทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงแล้วมานั่งพักจนร่างกายกลับมารู้สึกสดชื่นอีกครั้ง แต่ถ้ามีอาการเหนื่อยเกิดขึ้นติดต่อกันนานหลายสัปดาห์ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

หายใจไม่อิ่ม คืออะไร

สำหรับอาการหายใจไม่อิ่มหรือหายใจไม่ทันนั้น เป็นภาวะที่รู้สึกสูดอากาศเข้าไปได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการหายใจสั้น ๆ หรืออาจรู้สึกหายใจไม่ออก โดยมีสาเหตุที่แตกต่างกัน อาทิ การใช้แรงมากเป็นเวลานาน ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ มีอาการตกใจ หรืออยู่ในสภาพอากาศที่กระตุ้นให้เกิดอาการ อย่างอยู่บนยอดเขาที่มีความกดอากาศต่ำ โดยสาเหตุที่กล่าวมานี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งยังกลับมาเป็นปกติได้ในเวลาต่อมา แม้อาการหายใจไม่ทันดูไม่มีความรุนแรง แต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่มเรื้อรังได้เช่นกัน

ผู้ชายยืนเหนื่อยหอบบนชายหาด

ออกกำลังกายหนักเกินไปทำให้มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจไม่ทัน

อาการเหนื่อยง่าย เกิดจากอะไร

เหนื่อยง่าย มีสาเหตุของอาการมาจากการเป็นโรคและการไม่เป็นโรค ดังนี้

  • นอนดึกเป็นประจำ เป็นเหตุให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จนรู้สึกอ่อนล้าและเหนื่อยง่าย 
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นสาเหตุให้มีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน และรู้สึกเหนื่อยมากเกินไป ฉะนั้นควรจำกัดปริมาณการดื่มกาแฟ ชา หรือน้ำอัดลมในระหว่างวัน รวมถึงงดเครื่องดื่มเหล่านี้ในตอนเย็น
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป นอกจากทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคบางชนิดแล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทอีกด้วย
  • การทานยาบางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย อย่างยาต้านซึมเศร้า ยาแก้แพ้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน หรือยาระงับอาการปวด เป็นต้น
  • ทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างของทอดและของหวานเป็นประจำ นอกจากไม่มีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังอัดแน่นไปด้วยไขมันและน้ำตาลสูง เมื่อรู้แบบนี้แล้วให้เปลี่ยนมาทานผักและผลไม้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
  • เหนื่อยง่ายเป็นหนึ่งในอาการที่สามารถเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพื่อปรับการทำงานของร่างกายให้เหมาะกับการมีทารกเติบโตอยู่ในครรภ์ เช่น กระตุ้นให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หายใจเร็วขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น

เหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน เตือนโรคร้ายอะไรบ้าง 

เบาหวาน

หากคุณรู้สึกมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า ควบคู่ไปกับอาการกระหายน้ำ ปวดปัสสาวะบ่อย หรือน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ให้สันนิษฐานไว่ก่อนว่า ตนเองอาจป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที

โลหิตจาง 

เป็นภาวะที่ทำให้รู้สึกเหน็ดเหนื่อยและไร้เรี่ยวแรง เนื่องจากขาดธาตุเหล็กและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ส่งผลให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ทำให้มีอาการหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น และตัวซีด

ภาวะซึมเศร้า 

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะรู้สึกเหนื่อยและอ่อนล้ามาก โดยอาจมีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก รวมทั้งรู้สึกสิ้นหวัง วิตกกังวล หรือมีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย

โรคลมหลับหรือภาวะง่วงเกิน

ผู้หญิงนอนหลับบนกองหนังสือ

อาการง่วงเหงาหาวนอน นอนเท่าไรก็ไม่พอ เป็นสัญญาณเตือนโรคลมหลับ

เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ไม่ว่าจะนอนเท่าไหร่ก็ยังรู้สึกง่วง นอกจากนี้อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและแขนขาอย่างเฉียบพลันร่วมด้วย ถ้าคุณมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง

โรคลิ้นหัวใจรั่ว

เป็นโรคที่เกิดจากลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ส่งผลให้เลือดไหลย้อนกลับ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอ ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วจึงไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ เพราะรู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจลำบากเมื่อออกแรง

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

เป็นโรคที่มีความเสี่ยงแปรผันตามอายุ ยิ่งอายุมากขึ้นมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าในผู้ป่วยที่มีอายุมากจะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าคนทั่วไป

โรคทางปอด

อาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับปอด อาทิ วัณโรค ปอดบวม หอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ ล้วนได้รับผลกระทบต่อการหายใจทั้งสิ้น ไม่แปลกที่ผู้ป่วยโรคปอดส่วนใหญ่มีการหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจไม่เต็มปอด

 

วิธีแก้อาการเหนื่อยง่าย

การรักษาอาการเหนื่อยง่าย มีทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ฝึกหายใจสำหรับผู้ที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม หรือรักษาตามสาเหตุของอาการป่วย อาทิ

  • ภาวะโลหิตจาง แพทย์จะสั่งจ่ายธาตุเหล็กชนิดรับประทาน เพื่อให้เม็ดเลือดแดงกลับมาสมบูรณ์ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยง่าย
  • มีอาการเหนื่อยง่ายจากการทานยารักษาโรคบางชนิด กรณีนี้แพทย์อาจปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
  • ภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล อาจต้องเข้ารับการบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ผ่านการพูดคุย การให้คำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในบางกรณีรักษาด้วยยาควบคู่กันไปด้วย
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยให้น้อยลง ยังส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
  • การฝึกหายใจช่วยให้ควบคุมจังหวะการหายใจให้ช้าลง ทำให้สูดหายใจได้ลึกขึ้น และสามารถรับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่

อาการเหนื่อยง่าย หายใจหอบถี่ หรือหายใจไม่ทัน สามารถทำให้บรรเทาหรือหายเองได้ แต่ถ้าพบความผิดปกติไม่ควรนิ่งนอน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุว่าเกิดจากการเป็นโรคหรือไม่

นอกจากนี้การตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง ช่วยให้ตรวจพบโรคก่อนแสดงอาการหรือลุกลาม รวมถึงวางแผนการดูแลสุขภาพผ่านการสมัครประกันภัยสุขภาพหรือประกันภัยโรคร้ายแรง เพื่อช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ฮักส์ อินชัวรันซ์มีแผนความคุ้มครองประกันภัยสุขภาพหลากหลาย ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท, งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลเพชรเวช, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+