loading
ค่าฝุ่น PM 2.5 มาตรฐานองค์การอนามัยโลก ต้องไม่เกินเท่าไหร่

ค่าฝุ่น PM 2.5 มาตรฐานองค์การอนามัยโลก ต้องไม่เกินเท่าไหร่

เขียนเมื่อวันที่ 30/11/2021

มาตรฐานค่าฝุ่น PM 2.5 ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด

มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกต่างต้องพบเจอ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ถือเป็นมลพิษทางอากาศที่มีขนาดเล็กมากจนขนจมูกที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองฝุ่นชนิดนี้ได้ อีกทั้งหากสะสมในร่างกายมาก ๆ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจรุนแรงถึงขั้นเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรือโรคปอดเรื่อรังเลย อีกทั้งค่าฝุ่น PM 2.5 เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศที่ทั่วโลกเฝ้าระมัดระวัง 

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร 

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดฝุ่นขนาดเล็กหรือฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่ถูกสะสมมาเป็นระยะเวลานานทั้งการเผาในที่โล่ง ควันจากระบบการคมนาคมขนส่งจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การผลิตไฟฟ้าที่จะมีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) สู่ชั้นบรรยากาศ โรงงานอุตสาหกรรมไปจนถึงการรวมตัวของก๊าซในชั้นบรรยากาศ เช่น มีสารปรอท (Hg) แคดเมียม (Cd) อาร์เซนิก (As) เป็นต้น ซึ่งเป็นสารพิษที่อันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ 

โดยล่าสุดทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการปรับเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศให้สะอาดขึ้น ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมากับการประกาศเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศ (Air Quality Guidelines: AQGs) ฉบับใหม่ นับตั้งแต่การปรับเกณฑ์ครั้งล่าสุดในช่วงปี 2548 ซึ่งในฉบับปรับปรุงนี้จะมีเกณฑ์อะไรบ้างไปดูกัน 

เกณฑ์มาตรฐานค่าฝุ่น PM 2.5 จากองค์การอนามัยล่าสุด

ฝุ่นควันจากโรงงานอุตสาหกรรม

สาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5

เกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศมีการปรับค่ามาตรฐานความปลอดภัยของฝุ่น PM 2.5 ที่สูงขึ้น โดยมีการกำหนดค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่น PM 2.5 ค่ามาตรฐานที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยจะต้องไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากเดิมกำหนดที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร รวมถึงค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากเดิมกำหนดที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ทางองค์การอนามัยโลกเปิดเผยเพิ่มเติมว่าอากาศบริสุทธิ์เป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันมีหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่ามลพิษทางอากาศส่งผลต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ในทุกปี ปัญหามลพิษทางอากาศยังคงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน และสูญเสียสุขภาพที่ดีไปไม่น้อย โดยเฉพาะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรค เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคมะเร็งปอด รวมถึงมียอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น เป้าหมายของแนวทางเกณฑ์มาตรฐานนี้เพื่อให้ทุกประเทศบรรลุระดับคุณภาพอากาศที่ดี ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นงานที่ยากสำหรับหลายประเทศและภูมิภาคที่กำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศในระดับสูง WHO จึงได้มีการเสนอเป้าหมายชั่วคราว เพื่ออำนวยความสะดวกในการปรับปรุงคุณภาพอากาศอย่างเป็นขั้นเป็นตอนของในแต่ละประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของประชากรที่จะค่อย ๆ ดีขึ้น

สำหรับการปรับเกณฑ์มาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในครั้งนี้ มาตรฐานค่าฝุ่นละอองของไทยยังตามหลังเกณฑ์แนะนำของ WHO หลายเท่า โดยปัจจุบันค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยเฉลี่ยรายปีคือไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

วิธีการป้องกันฝุ่น PM 2.5

แนวทางป้องกันฝุ่น PM 2.5

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนยังคงต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่เพื่อการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ควบคู่กันไปด้วย จึงมีวิธีที่สามารถดำเนินชีวิตให้ปลอดภัยและห่างไกลความเสี่ยงจากทั้งสองสถานการณ์ ดังนี้

  1. สวมใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือป้องกันฝุ่น PM 2.5 เช่นหน้ากากชนิด N95 หรือหน้ากากอนามัยแบบ 3 ชั้น ที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ควบคู่กันได้
  2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งนอกจากจะช่วยป้องกันการสัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว ยังเป็นการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 โดยเฉพาะในช่วงที่คุณภาพอากาศแย่หรือมีค่าฝุ่นที่สูงเกินมาตรฐาน 
  3. หากอยู่ในบ้านควรใช้เครื่องฟอกอากาศควบคู่ โดยเครื่องฟอกอากาศถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยกรองอากาศให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น รวมถึงดักจับฝุ่นหรือเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ
  4. หมั่นตรวจเช็คค่าฝุ่นอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะการตรวจเช็คค่าฝุ่นจะช่วยให้คุณสามารถเตรียมรับมือและป้องกันตนเองให้หลีกเลี่ยงจากพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ โดยในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันหลากหลายที่รองรับการตรวจเช็คค่าฝุ่นในแต่ละพื้นที่แบบเรียลไทม์

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่ไม่ควรละเลย เพราะมลพิษทางอากาศเหล่านี้ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพหากสะสมเป็นระยะเวลานาน หรือสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก นอกจากการเตรียมความพร้อมให้แก่ร่างกายด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอและตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี รวมถึงการเลือกทำประกันภัยสุขภาพ เพราะโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน เพื่อให้อุ่นใจแม้ยามเจ็บป่วยจากค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าหมอ และมีเงินชดเชยรายได้ ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพหลากหลายตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิต ยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยที่เหมาะกับคุณ ติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง  Facebook หรือ LINE หรือ โทร 02 975 5855

อ้างอิงข้อมูล : bbc, who.int


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+