loading
ฉีดวัคซีนโควิดนักเรียน เตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม

ฉีดวัคซีนโควิดนักเรียน เตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม

เขียนเมื่อวันที่ 06/10/2021

กางไทม์ไลน์ฉีดวัคซีนโควิดให้เด็ก สร้างภูมิรับเปิดเทอม

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศไทยยังคงวิกฤต ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและภาคเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกวันนี้มีการระดมฉีดวัคซีนโควิด อาวุธสำคัญที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับคนในประเทศ เพราะช่วยลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตลงได้ โดยข้อมูลจำนวนการได้รับวัคซีนสะสมของประชากรในประเทศ  ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 14 กันยายน 2564 จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564  พบว่า มีผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม 29,002,572 ราย ผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม 15,118,015 ราย และผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม 621,462 ราย ซึ่งผู้ที่ได้รับวัคซีน COVID-19 ยังคงเป็นบุคลากรด่านหน้า ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพราะช่วงแรกของการพัฒนาวัคซีนเป็นการศึกษาในกลุ่มผู้ใหญ่ ทำให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการทดลองเพิ่มเติม พร้อมเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนโควิดเด็กนักเรียน อายุ 12 ปีขึ้นไป ในหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี รวมถึงไทย เพื่อสร้างภูมิรับเปิดเทอม

รวมรายชื่อวัคซีนโควิดสำหรับเด็กไทย มีข้อควรระวังอะไรบ้าง 

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกมาให้คำแนะนำเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ไว้ดังนี้

(1) แนะนำให้เด็กอายุตั้งแต่ 12 ปี สามารถฉีดวัคซีนชนิด mRNA ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) และขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย คือ วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) และวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna)

(2) วัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 16-18 ปี สามารถรับวัคซีนได้หากไม่มีข้อห้ามใด ๆ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุดังกล่าวมีรูปแบบการใช้ชีวิตใกล้เคียงกับผู้ใหญ่พอสมควร แต่อย่างไรก็ดีการฉีดวัคซีนโควิดให้เด็กต้องเป็นไปตามตามความสมัครใจ และได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง

(3) สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12-16 ปี หากเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรังควรเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรคหากติดเชื้อโควิด โรคกลุ่มเสี่ยงประกอบด้วย

  • โรคอ้วน (มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัม) 
  • โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคไตวายเรื้อรัง
  • โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ 
  • โรคเบาหวาน 
  • กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง

สถานการณ์วัคซีนโควิด-19 ของเด็กไทย

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติเห็นชอบการให้บริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ด้วยความยินยอมของผู้ปกครอง โดยเริ่มฉีดวัคซีนให้นักเรียน นักศึกษา ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จำนวน 29 จังหวัด ภายในเดือนตุลาคม 2564 นี้ เพื่อสร้างภูมิกันหมู่ให้โรงเรียนสามารถกลับมาเปิดภาคเรียนที่ 2/2564 และนักเรียนไปโรงเรียนได้ตามปกติอีกครั้ง

ขวดวัคซีนไฟเซอร์

ไฟเซอร์ วัคซีนชนิด mRNA สำหรับฉีดเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป

เปิดไทม์ไลน์ฉีดวัคซีนโควิดให้นักเรียน

  • วันที่ 10-17 กันยายน : โรงเรียนหรือสถานศึกษาจัดเตรียมรายชื่อและจำนวนนักเรียนที่ประสงค์เข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์
  • วันที่ 17-22 กันยายน : โรงเรียนหรือสถานศึกษาจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนในเด็ก 12-18 ปี
  • วันที่ 21-24 กันยายน : โรงเรียนหรือสถานศึกษา เชิญผู้ปกครองนักเรียนให้ลงนามแจ้งความประสงค์ (ยินยอม) ให้นักเรียนเข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์
  • วันที่ 25 กันยายน : โรงเรียนหรือสถานศึกษานำส่งบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ประสงค์เข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ แก่ ผอ.สพท. ก่อนนำส่ง ศธจ.
  • วันที่ 26 กันยายน : ผอ.สพท. และผู้แทนหน่วยงานด้านการศึกษาในจังหวัด ประชุมสรุปจำนวนและรายชื่อนักเรียนเพื่อนำส่งสาธารณสุขจังหวัด
  • วันที่ 28-30 กันยายน : สาธารณสุขจังหวัด วางแผนและกำหนดการฉีดวัคซีนในแต่ละโรงเรียนหรือสถานศึกษา
  • วันที่ 1 ตุลาคม : โรงเรียนหรือสถานศึกษา รับทราบกำหนดการพร้อมจัดเตรียมสถานที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้นักเรียน
  • วันที่ 4 ตุลาคม : เริ่มฉีดวัคซีนให้นักเรียน

เด็กยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ควรทำอย่างไร

พ่อสวมหน้ากากให้ลูกชาย

สวมหน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้าน

สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ผู้ปกครองสามารถป้องกันการติดเชื้อในเด็กได้หลากหลายวิธี อาทิ

  • ผู้ปกครองควรเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ให้ครบโดส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับตัวเองและลดความเสี่ยงการติดเชื้อสู่เด็ก
  • ไม่ควรพาเด็กเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ชุมชนแออัด รวมถึงสวมหน้ากากอนามัย และให้ล้างมือบ่อย ๆ หลังสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ เสมอ
  • ให้เด็กรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกาย
  • เข้ารับวัคซีนตามกำหนดของช่วงอายุที่ช่วยลดผลข้างเคียงเมื่อติดเชื้อโควิด-19 เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ

ภายหลังจากเด็กได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 แล้ว ผู้ปกครองควรสังเกตอาการข้างเคียงหรืออาการแพ้วัคซีนโควิดอย่างใกล้ชิดประมาณ 48-72 ชั่วโมง หากมีอาการรุนแรง อาทิ แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ควรเดินทางไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อประเมินอาการ พร้อมหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายประเภทใช้แรงเยอะประมาณ 1 สัปดาห์ขึ้นไป 

ส่วนใครที่อยากเสริมความปลอดภัยให้กับตัวเองและบุตรหลานผ่านการทำประกันภัยสุขภาพ ประกันภัยโควิด และประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 Hugs Insurance มีประกันภัยสุขภาพสำหรับเด็กและยินดีเป็นผู้ช่วยในการตามหาผลิตภัณฑ์ประกันภัย ที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณ สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, กระทรวงศึกษาธิการ, Centers for Disease Control and Prevention


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันโควิด

#ประกันแพ้วัคซีนโควิด

#ฮักส์ประกันภัยโควิด

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+